การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ชัยแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วีนัส ภักดิ์นรา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว, นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแต่งตัวของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาลนาดินดำ 2 หนองนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แบบบันทึกชั้นเรียน 3) ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัว 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว และ 5) แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)  ผลการวิจัยพบว่า 1) วงจรที่ 1 นักเรียนมีความสามารถในการแต่งตัว คิดเป็นร้อยละ 67.85 แต่ยังไม่สามารถร้อยตาไก่และตะขอได้จึงนำผลไปปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัวในวงจรที่ 2 จนสามารถทำได้ ในวงจรที่ 2 นักเรียนมีความสามารถในการแต่งตัว คิดเป็นร้อยละ 94.64 โดยมีความสามารถในการแต่งตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 26.79 และ 2) นักเรียนมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัวสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกกิจกรรมการแต่งตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

เจษฎา มีสาระภี. (2559). ศึกษาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล 1/2 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดศรีเมือง [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ชญาน์นันท์ นภัร์ถิรชาญไชย. (2564). องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดมอนเตสซอรีในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย. หน่วยปฏิบัติการศึกษาวิจัยการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พิณพิรุณ วิภาพ. (2562). การฉีก ตัด ปะ กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์. สืบค้น 22 ธันวาคม 2565 จาก https://www.youngciety.com/article/crafts/tear-cut-patch.html.

รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะ เศษวัสดุ. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย (4-5 ปี) ตามแนวคิดมอนเตสซอรี โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามบริบทไทย: แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Approach). บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

Best, J. W. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Mertler, C. A. (2014). Action Research: Improving Schools and Empowering Educators. (4 ed.). Sage.

Montessori, M. (1964). The Montessori Method. The United States of America. Schocken Books.

Montessori, M. (1966). The Secret of Childhood. Translated by Costelloe M. Joseph. (1972). The United States of America. Ballantine Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25