การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล, สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล, ความพึงพอใจต่อกิจกรรมบทคัดย่อ
รายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากการใช้บทเรียนผ่านเว็บ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่ใช้บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 50 คน ระดับชั้นปีที่ 1 - 3 ซึ่งเป็นหัวหน้าและรองหัวหน้าของทุกกลุ่มเรียน จากประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จำนวน 1,000 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2) แบบวัดระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เกณฑ์ 80/80 ค่าร้อยละ คะแนนพัฒนาการ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2 = 83.10/83.05) 2) ผลการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูที่ใช้บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า คะแนนการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู ก่อนการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 61.46 และหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับ สูงมาก คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 83.36 โดยมีค่าพัฒนาการในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 21.90 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่ใช้บทเรียนผ่านเว็บ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่าโดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67
References
กรกมล ชูช่วย และคณะ. (2565). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(1), 138 – 148.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลนิษฐ์ วงศ์แก้ว. (2564). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บด้วย Google Site เรื่อง โครงงานอาชีพเห็ดสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 15(1), 106-117.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). นิยามเลิร์นนิงออปเจ็กต์ (Learning Objects) เพื่อการออกแบบพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา, 50 – 59.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน, น.องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธัญวดี กำจัดภัย. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อสร้างเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสารผ่านเว็บบล็อก สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(3),169-179.
นันทิยา น้อยจันทร์ และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 8(1), 1-11.
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1630 – 1642.
นิรภาดา โพธิ์บุบผา. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. [วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. สุวิริยาสาส์น.
เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา E1/E2. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44 – 51.
พนิตา จำจด. (2561). การศึกษาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงาน กศน. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
วรรณพร จิตรสังวรณ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง หลักสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 90 – 102.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวทางการนำ Asean curriculum sourcebook สู่การปฏิบัติ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Dewey, J. (1963). Experience and Education. The Kappa Delta Pi Lecture Series. Macmillan.
Schroeder, Barbara Ann. (2006). Multimedia-Enhanced Instruction in Online Learning Environments. United States, p.Ed.D. Dissertation College of education Boise State University.
Webb, N. (2009). The Teacher’s Role in Promoting Collaborative Dialogue in the Classroom. British Journal of Educational Psychology, 79, 1-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.