การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานต่อการจัดการมลพิษทางกลิ่นของฟาร์มสุกรมาตรฐานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ฟาร์มสุกรมาตรฐาน, การจัดการมลพิษทางกลิ่นบทคัดย่อ
บทความเรื่องความพึงพอใจของประชาชนรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานต่อการจัดการมลพิษทางกลิ่น ของฟาร์มสุกรมาตรฐานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานต่อการจัดการมลพิษทางกลิ่นของฟาร์มเป็นการศึกษาเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)ของฟาร์มสุกรมาตรฐานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมจากกลุ่มตัวอย่างของชุมชนโดยรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานในด้านความพึงพอใจต่อการจัดการมลพิษทางกลิ่นของฟาร์มสุกรมาตรฐานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยทำการศึกษาความพึงพอใจของประชาชนรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานรวมทั้งสิ้น 7 ด้าน ได้แก่มี 1.ด้านทำเลที่ตั้งฟาร์ม 2 ด้านลักษณะของฟาร์ม 3. ด้านการจัดการด้านโรงเรือนและบุคลากร 4. ด้านการจัดการของเสียที่มีผลต่อการเกิดมลพิษทางกลิ่นจากแหล่งกำเนิดของฟาร์มสุกรมาตรฐาน 5. ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์ 6. ด้านการแก้ปัญหาของฟาร์มสุกรมาตรฐานกรณีส่งผลกระทบ 7. และด้านความพึงพอใจของประชาชนต่อการได้รับผลประโยชน์จากฟาร์มโดยผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจ ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์มีความพอใจมากที่สุด ส่วนด้านการแก้ปัญหาของฟาร์มสุกรมาตรฐานกรณีส่งผลกระทบประชาชนรอบฟาร์มสุกรมาตรฐานประชาชนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด
References
พุทธลักษณ์ มณีพรรณ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารองค์กร กรณีศึกษา บริษัทฟาร์มสุกร จำกัด (นามสมมติ) จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัคพงศ์ ปวงสุข, วัฒนาชัย มาลัย และธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะ ของเสีย และน้ำเสียในฟาร์มสุกรของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในเขตอำเภอเมืองและอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. รวมบทความ: วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม.
วิษณุ เจริญพงศ์พูล และเกรียงไกร ยอดชมพู. (2558). สัตว์เศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.
วีระ ศรีพพลอย, ประเสริฐ ว่องไวเจริญสุข และอรอนงค์ เชษฐบุตร. (2558). โลกสุกร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โลกปศุสัตว์และสุกร.
ศุภวรรณ ภู่พันธ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบบำบัดของเสียจากฟาร์มสุกรของผู้ประกอบการในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทรัพยากร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิราณี ศรีวิเชียร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมเพื่อการเป็นฟาร์มสุกรมาตรฐาน. Applied Environmental Research, 33 (2), : 19-27.
สมพร คุ้มจอหอ. (2540). การศึกษาปัญหาการจัดการมลภาวะทางกลิ่นจากมูลสัตว์ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุกัลยา จัตตุพรพงษ์, ปฏิมา อู่สูงเนิน และอุทัย คันโธ. (2555). การใช้ประโยชน์จากมูลสุกรและน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกรเป็นปุ๋ยอินทรีย์แบบต่างๆ สำหรับพืชเศรษฐกิจ. นครปฐม:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
สุทัศน์ คำมาลัย. (มปป.). แก๊สชีวภาพจากมูลสุกร แก๊สขี้หมู เพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สุนีย์ สุทีปธรรม. (2556). กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมภายในฟาร์มสุกรกาญจนบุรี ในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนีย์ สุทีปธรรม และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2556). เส้นทางสู่ฟาร์มสีเขียว : รูปแบบ กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมภายในฟาร์มสุกรกาญจนบุรี ในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน). รวมบทความ: วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม.
สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี. (2546). การจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรโดยวิธีการมีส่วนร่วมในพื้นที่ระดับตำบล. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารักษ์ ชัยกุล. (มปป.). การใช้ประโยชน์จากของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ ภายใต้โครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ในภาคพื้นเอเซียตะวันออก. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อารักษ์ ชัยกุล. (มปป.). หลักปฏิบัติที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับฟาร์มสุกร. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอสงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ