จริยธรรม
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดบทบาทหน้าที่ในการตีพิมพ์บทความตามมาตรฐานจริยธรรม ดังนี้
1. จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)
- บรรณาธิการมีหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
- บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและคุณภาพของบทความก่อนการตีพิมพ์ และจะไม่รับบทความที่พบว่ามีความซ้ำซ้อน (Duplications/Plagiarism) กับวารสารฉบับอื่น พร้อมทั้งรับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
- บรรณาธิการต้องให้เสรีภาพแก่ผู้นิพนธ์บทความในการแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ และคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
- บรรณาธิการต้องรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียของการจัดทำวารสาร
- กรณีเกิดข้อผิดพลาด บรรณาธิการต้องทำการชี้แจงแก้ไข ถอนบทความ และขออภัยด้วยความเต็มใจ
2. จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องมีความรู้ความชำนาญตามศาสตร์ของตนในการพิจารณาบทความ โดยปราศจากอคติหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้นิพนธ์บทความ
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องตรงต่อเวลา รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)
- ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของคนอื่น ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง โดยรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งใดมาก่อน
- ผู้นิพนธ์ต้องคิดวิเคราะห์ ค้นคว้า เรียบเรียง และอ้างอิงข้อมูลโดยผู้เขียนเอง และไม่บิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงในบทความ
- ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในผลงานวิชาการจริง
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสาร