Book Review : Facing the Mirror: Older Women and Beauty Shop Culture
Keywords:
Older Women, Beauty Shop CultureAbstract
หนังสือเรื่อง Facing the Mirror: Older Women and Beauty Shop Culture เป็นงานเขียนทางด้านชาติพันธุ์วรรณาของ Frida Kerner Furman ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1997 จากสำนักพิมพ์ Routledge งานเขียนนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสวยงามของหญิงชาวยิวส์สูงอายุ (Jewish women) เนื้อหาในหนังสือมี 5 บท ประกอบด้วย
บทที่ 1 women’s Territory: Community and the Ethic of Care at Julie’s International Salon
บทที่ 2 The Witch in the Mirror: Feminine Beauty and Its Imperatives
บทที่ 3 “What’s My Alternative?”: Aging and Its Challenges
บทที่ 4 “The Cheese Stands Alone”: Women in Relation to Work, Caring, and the Family และ
บทที่ 5 Energetic Anger: An Invitation to Resistance
เรื่อง Facing the Mirror: Older Women and Beauty Shop Culture ของ Furman โดดเด่นในวิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษา และยิ่งมีความน่าสนใจเมื่อเธอใช้ความเป็นคนใน คือ ความเป็นลูกหลานชาวยิวส์ และเป็นลูกค้าของร้าน Julie’s International Salon มาก่อน จึงได้ขออนุญาตเจ้าของร้าน คือ Julie เพื่อศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณาในร้านเสริมสวยของ Julie โดย Julie ตอบตกลงอย่างยินดี แม้จะไม่เข้าใจการศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณา เธอก็สนับสนุนโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยแนะนำให้ Furman รู้จักกับลูกค้าของเธออย่างกระตือรือร้น โดย Furman เน้นการพูดคุยใน “สิ่ง/ประเด็น” ที่หญิงสูงอายุเป็นอยู่ โดยคนในร้านเสริมสวยพูดคุยประเด็นที่ Furman ศึกษาอย่างเต็มใจ Furman ใช้เวลา 8 เดือน เพื่อศึกษาชีวิตของผู้หญิงสูงอายุชาวยิวส์ ทั้งนี้เธอใช้วิธีการแบบสหวิชาการในงานสนาม ได้แก่ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา วิชาที่ว่าด้วยความสูงอายุ (gerontology) การสื่อสารมวลชน ศาสนา และสตรีศึกษา เป็นต้น
Additional Files
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The manuscripts published in the Social Work Journal is the copyright of the Social Work Journal, Thammasat University
Any article or opinion appeared in the Social Work Journal will solely be under the responsibility of the author The Faculty of Social Administration, Thammasat University and the editors do not need to reach in agreement or hold any responsibility.