สวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงอยู่คนเดียว: ข้อค้นพบจากจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
สวัสดิการสังคม, การพัฒนาศักยภาพ, ผู้สูงอายุหญิงอยู่คนเดียวจังหวัดนครปฐมบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษากลไกการพัฒนาขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงอยู่
คนเดียวสู่การสูงวัยอย่างมีพลัง และแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายในการพัฒนาขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงฯ ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้สูงอายุหญิงฯ จำนวน 21 คน และผู้แทนเครือข่ายด้านผู้สูงอายุจำนวน 20 คนในจังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ระดับลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกแยะเนื้อหา ผลการวิจัยระบุว่า กลไกการพัฒนาขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงฯ มี 3 กลไก คือ 1) ผู้สูงอายุหญิงฯ ต้นแบบ เป็นแกนนำการขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมที่เน้นนำขีดความสามารถมาพัฒนากลุ่มเปราะบาง 2) เครือข่ายผู้สูงอายุ ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงอายุ มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถจากภายใน เพื่อพัฒนากระบวนการทางความคิดแบบเติบโต ชมรมผู้สูงอายุ มีการบริหารจัดการเครือข่ายตามแนวทางเชิงระบบ ทำให้ทำงานเป็นทีม 3) เครือข่ายภาครัฐ กระจายอำนาจให้เครือข่ายในพื้นที่ร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด โดยเพิ่มตัวชี้วัดการพัฒนาขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงฯ มาใช้ประโยชน์ ผ่านการจัดทำแผนพัฒนาแต่ละระดับ ปัญหาอุปสรรค คือ มี 5 คน เข้าไม่ถึงสวัสดิการบางมิติ และมี 8 คน เป็นผู้เปราะบางหลายมิติ เนื่องจากกรอบแนวคิดของตนเอง และบริบทแวดล้อม ได้แก่ ไม่ถูกนับรวมเป็นกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา โรงเรียนผู้สูงอายุขาดการสร้างแรงจูงให้เข้าร่วมกิจกรรมสองทักษะควบคู่กัน ชมรมผู้สูงอายุขาดแกนนำในการบริหารจัดการเครือข่ายให้ครบทุกอำเภอ และเครือข่ายภาครัฐขาดฐานแบบบูรณาการ เพื่อชี้สถานการณ์ของปัญหา
แนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายในการพัฒนาขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงฯ มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ให้ผู้สูงอายุหญิงฯ ได้รับการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต 2) ให้โรงเรียนผู้สูงอายุ มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถจากภายใน โดยมีหลักสูตรครอบคลุมทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และทักษะจิตใจอารมณ์-สังคม ควบคู่กัน 3) ให้ชมรมผู้สูงอายุบริหารจัดการเครือข่ายตามแนวทางการจัดการเชิงระบบทุกอำเภอ 4) ให้เครือข่ายภาครัฐ กระจายอำนาจให้เครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมกันจัดสวัสดิการที่เน้นนำขีดความสามารถผู้สูงอายุหญิงฯ มาใช้ให้เป็นประโยชน์
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553) (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:
กรมกิจการผู้สูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กันนิษฐา มาเห็ม, ปิยนุช ภิญโย, ภาสินี โทอินทร์ และ พัฒนี ศรีโอษฐ์. (2563). ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังและความแตกต่างระหว่างหญิงชาย: การวิจัยชาติพันธุ์วรรณาอภิมาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 8(2), 138-147.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการรูสมิแล. 38(1), 6-28.
ฐาปกรณ์ อ่วมสถิตย์. (2564). การพัฒนาทักษะซอฟต์สกิลด้วยการดำเนินงานโครงการจิตอาสาตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(1), 37-50.
ณัฐจรี สุวรรณภัฎ. (2558). สังคมวิทยาชีวิตประจำวัน: “รอยต่อ-รอยตัด” แนวทัศน์ทางสังคมวิทยาในงานศึกษาสังคมไทยร่วมสมัย. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 34(2), 71-99.
นันธิดา จันทร์สิริ. (2558). การจัดการเครือข่ายในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 15(1), 145-153.
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และ วรางคณา จันทร์คง. (2561). บริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. วารสารชุมชนวิจัย, 12(2), 26-36.
พงษ์เทพ สันติกุล. (2564). ทฤษฎีรัฐสวัสดิการของ Paul Spicker. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 39(3), 193-215.
พีรพงษ์ แสงแก้ว, ศุภวิชญ์ มีศิริพันธุ์, กาญจนาพร วงอาจ และ โชติ บดีรัฐ. (2564). 7 กลไกการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 386-397.
ภัทรพร ธนาคุณ และ บัวทอง สว่างโสภากุล. (2564). ความหวัง ความยืดหยุ่น ทักษะทางสังคม และความสำเร็จของการเป็นผู้สูงอายุของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(1), 70-80.
ภัทรพรรณ ทำดี. (2560). ตัวตน สังคม วัฒนธรรม เงื่อนไขสู่การสูงวัยอย่างมีศักยภาพของผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 109-131.
สุพิน ใจแก้ว. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 348-360.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยพ.ศ. 2559-2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ดัชนีความก้าวหน้าของคนประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติจังหวัดนครปฐม. (2565). สังคมสูงวัยในจังหวัดนครปฐม. สืบค้นจาก https://www.nsonakhonpathom.com/statgis/main/download/upload/fileupload-20180910115917.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2565). จำนวนประชากรแยกกลุ่มอายุและเพศจังหวัดนครปฐม. สืบค้นจาก http://nptho.moph.go.th/weboffice/frontend/web/index.php
สำนักงานจังหวัดนครปฐม (ม.ป.ป.) แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก http://www.nakhonpathom.go.th/files/com_news_develop_plan/2019-05_fe54f0d4c7dbacd.pdf
สำนักงานจังหวัดนครปฐม (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. นครปฐม: ศูนย์ราชการจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครปฐม. สืบค้นจาก http://www.nakhonpathom.go.th/content/strategy
Adana, F., Durmaz, S., Qzvurmaz, S., Akpınar, C. V., & Yesilfidan, D. (2022). Descriptors of living alone for Elders: based on Turkey national data. BMC Geriatrics, 22(1), 37.
Goswami, S., & Deshmukh, P. R. (2018). How "Elderly Staying Alone" Cope Up with their Age and Deteriorating Health: A Qualitative Exploration from Rural Wardha, Central India. Indian journal of palliative care, 24(4), 465–471.
Giddens, Anthony. (1984). The constitution of society: outline of the theory of structuration. Berkeley: University of California Press.
Sen, A. (2000). Development as freedom. New Delhi: Oxford University Press.
Sen, A. (2003). Development as Capability Expansion. In S. Fukuda-Parr & et al. (Eds.), Reading in Human Development. New Delhi and New York: Oxford University Press.
World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework. Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/67215/1/WHO_NMH_NPH_02.8.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอสงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ