การศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการลดใช้สารเสพติดของเยาวชนภายในศูนย์ฝึกและอบรม: ศึกษาเฉพาะกรณี ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา
คำสำคัญ:
การควบคุมตนเอง, สารเสพติด, ศูนย์ฝึกและอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมตนเอง โดยใช้ฐานคิดการควบคุมตนเองของ Rosembaum เพื่อลดพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของเยาวชนภายในศูนย์ฝึกและอบรม ศึกษาเฉพาะกรณี ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง ซึ่งกลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมตามปกติที่มีอยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ส่วนกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมตามปกติที่มีอยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ และโปรแกรมการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการลดใช้สารเสพติดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คัดเลือกเยาวชนกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนชายที่มีอายุ 18-24 ปี ที่มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติดก่อนที่จะกระทำความผิดและระหว่างฝึกอบรมมีพฤติกรรมการกระทำผิดกฎระเบียบของศูนย์ฝึกและอบรมฯ เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดเป็นประจำติดต่อกัน 3 เดือน และฝึกอบรมมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ใช้วิธีการจับฉลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน ผลการศึกษา พบว่า เยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการควบคุมตนเองฯ เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการใช้โปรแกรมตามปกติที่มีอยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ สามารถส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะการควบคุมตนเองแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z เท่ากับ 2.085 และค่า Asymp. Sig. (2-tailed) = 0.005) รวมถึง โปรแกรมการควบคุมตนเองฯ ช่วยให้เยาวชนสามารถลดหรือเลิกใช้สารเสพติดได้มากขึ้น และสามารถนำไปใช้ควบคู่กับโปรแกรมบำบัดตามปกติที่มีอยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ เพื่อเพิ่มทักษะการควบคุมตนเองให้กับเยาวชนภายในศูนย์ฝึกและอบรมฯ มีระดับการควบคุมตนเองสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะสำคัญ คือ ควรปรับรายละเอียดกิจกรรมให้มีความหลากหลาย เน้นการฝึกปฏิบัติหรือการแสดงบทบาทสมมติตามสถานการณ์มากกว่าการเขียน และควรมีนโยบายนำโปรแกรมการควบคุมตนเองฯ ไปปรับใช้เป็นโปรแกรมบำบัดพิเศษ สำหรับเยาวชนที่เคยได้รับโปรแกรมบำบัดตามปกติที่มีอยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ครบถ้วนแล้ว แต่ยังมีพฤติกรรมกระทำผิดเรื่องการใช้สารเสพติดอยู่หลายครั้ง เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชนให้ดีมากขึ้น
References
กชพร เผือกผ่อง. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการควบคุมตนเองของผู้เสพติดแอมเฟตามีน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์.
กระทรวงยุติธรรม, กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ. (2567). รายงานสถิติคดี ประจำปี 2560-2566, สืบค้นจาก https://www.djop.go.th/navigations/รายงานสถิติคดีประจำปี
กัลยา ตาสา. (2561). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์.
จิตภัณฑ์ กมลรัตน์. (2558). ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพยาบาลศาสตร์.
ณัฏฐวีร์ นงนุช. (2552). ผลของกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการศึกษา
ณัฐชยา กำแพงแก้ว. (2554). ประสิทธิผลของการทำกลุ่มครอบครัวบำบัดผู้บกพร่องทางสติปัญญาตามแนวคิด Satir. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
ดิษยา มีเพียร. (2551). ผลของการฝึกการควบคุมตนเองต่อการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชนกระทำผิดหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาวดี เอมะวรรธนะ. (2548). จิตวิทยาการปรึกษาสำหรับผู้ปฏิบัติงานยาเสพติด. นนทบุรี: สหมิตรการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ ทีเดีย.
บุญโรม สุวรรณพาหุ. (2557). ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงของ สุขภาวะในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติดที่มีระดับการควบคุมตนเองแตกต่างกัน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประณต เค้าฉิม. (2549). เอกสารคำสอนวิชา จต 221 จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะมนุษศาสตร์, ภาควิชาจิตวิทยา.
ปราโมทย์ เชาวศิลป์ และ รณชัย คงสกนธ์. (2542). กลุ่มจิตบำบัดสำหรับคนไข้ใน. กรุงเทพฯ: สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.
ปริญญา เหลืองอุทัย. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทของเด็กและเยาวชน กระทำผิดในการปฏิบัติตามระเบียบวินัย ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน: ศึกษากรณีสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย (บ้านกรุณา). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสังคมวิทยา.
พรภัทร สินดี. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการศึกษา.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564, (8 พฤศจิกายน 2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก, หน้า 1-80.
วราภรณ์ กุประดิษฐ์. (2551). การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะศึกษาศาสตร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2: วัยรุ่น-วัยสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์. (2561). กลุ่มครอบครัวบำบัดแนวแซทเทียร์ (Family Group Therapy). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชา จันทน์เอม. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ. (2557). พลวัตกลุ่มกับการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาการเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2567). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ. สืบค้นจาก https://antidrugnew.moph.go.th
หทัยชนก พันพงค์. (2555). การพัฒนาแบบวัดการควบคุมตนเองสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2541). การศึกษานอกระบบโรงเรียนกับเด็กด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อิสริยา สันติธรรม และ อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์. (2564). แนวทางการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ กรณีศึกษา ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 14(3), 79-101.
อโนชา ถิรธำรง. (2550). การใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์.
Denis, R. & Manuel, E. (2006). The ‘Drug-Crime Link’ from a Self-Control Perspective: An Empirical Test in a Swiss Youth Sample. European Journal of Criminology, 3(1), 33-67. Retrieved from https://doi.org/10.1177/1477370806059080
Jessor, R., Donovan, J. E., & Costa, F. M. (1994). Beyond adolescence: Problem behaviour and young adult development. New York: Cambridge University Press.
Rosenbaum, M. (1980). A Schedule for Assessing Self-Control Behavior: Preliminary Findings. Behavior Therapy, 11(1), 109-121. Retrieved from https://doi.org/10.1016/S0005-7894(80)80040-2
Rosenbaum, M. (Ed.). (1990). Learned resourcefulness: On coping skills, self-control, and adaptive behavior. New York: Springer Publishing Company.
United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). (2023). World Drug Report 2023. Retrieved Feb 11, 2024, from https://www.unodc.org/res/WDR-2023/WDR23_Exsum_fin_DP.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอสงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ