การเลือกปฏิบัติต่อพนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ
คำสำคัญ:
การเลือกปฏิบัติ, พนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ, ตำรวจไทยบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสารและวิจัยภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 31 คน ได้แก่ พนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 11 คน พนักงานสอบสวนชายหรือหญิงที่มีวิถีรักต่างเพศ จำนวน 5 คน ผู้บังคับบัญชา 5 คน ผู้ใต้บังคับบัญชา 5 คน และประชาชนผู้มาใช้บริการ 5 คน ผลการวิจัยพบว่า มีปัญหาการเลือกปฏิบัติ 2 ประการ ได้แก่ 1) การเหยียดเพศสภาพในที่ทำงานทั้งทางวาจา การใช้สรรพนามด้อยค่าความเป็นชาย และ 2) การถูกขัดขวางโอกาสทางอาชีพซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้เกิดความเครียดและปัญหาด้านอารมณ์ นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศมีความต้องการให้องค์กรปฏิบัติต่อกลุ่มพวกเขา 4 ประการ ได้แก่ 1) มีการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางหรือมาตรการเพื่อปกป้องและสนับสนุนพนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ 2) สร้างความเท่าเทียมและความยุติธรรมในองค์กร 3) มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ และ 4) สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างในการยอมรับความหลากหลายทางเพศ จนได้ข้อเสนอแนะอันนำไปสู่การกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อจัดการกับปัญหาการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนมีการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและกลไกการป้องกันการเลือกปฏิบัติที่เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายทางเพศของพนักงานสอบสวนชายในองค์กร
References
American Psychological Association. (2011). Guidelines for Psychological Practice with Lesbian, Gay, and Bisexual Clients. Washington,
DC: APA. Retrieved January 1, 2024, APA. Retrieved from https://www.apa.org/pi/lgbt/resources/guidelines
Burke, M. (1994). Homosexuality as Deviance: The Case of the Gay Police Officer. British Journal of Criminology, 34(2), 192-203. Retrieved from https://doi.org/10.1093/oxfordjournals.bjc.a048402
Cox, T. H. Jr. (1993). Cultural Diversity in Organizations: Theory, Research and Practice. Oakland: Berrett-Koehler.
Erikson, E. H. (1968). Identity: Youth and Crisis. New York: Norton & Company.
Herek, G. M. (2009). Hate crimes and stigma-related experiences among sexual minority adults in the United States: prevalence estimates from a national probability sample. Journal of Interpersonal Violence, 24(1), 54-74. Retrieved from https://doi.org/10.1177/0886260508316477
International Labour Organization. (2015). Discrimination at work on the basis of sexual orientation and gender identity: Results of the ILO’s PRIDE Project. Geneva: ILO. Retrieved January 1, 2024, ILO Library, from https://www.ilo.org/resource/brief/discrimination-work-basis-sexual-orientation-and-gender-identity-results
Jones, M., & Williams, M. L. (2013). Twenty years on: lesbian, gay and bisexual police officers' experiences of workplace discrimination in England and Wales. Policing and Society, 25(2), 188-211. Retrieved from https://doi.org/10.1080/10439463.2013.817998
Lyons, P. M., DeValve, M. J., & Garner, R. L. (2008). Texas Police Chiefs’ Attitudes Toward Gay and Lesbian Police Officers. Police Quarterly, 11(1), 102-117. Retrieved from https://doi.org/10.1177/1098611107302655
Tajfel, H., & Turner, J. C. (1979). An Integrative Theory of Intergroup Conflict. In W.G. Austin & S. Worchel (Eds.), The Social Psychology of Intergroup Relations (pp. 33-47). California: Brooks/Cole Publishing Company.
The Yogyakarta Principles. (2007). Yogyakarta Principles and the Yogyakarta Principles plus 10. Retrieved January 1, 2024. Yogyakarta Principles, from http://www.yogyakartaprinciples.org
UNDP. (2019). United Nations Development Programme Annual 2019. New York: United Nations Development Programme.
United Nations. (2012). Born Free and Equal: Sexual Orientation and Gender Identity in International Human Rights Law. New York: United Nations. Retrieved January 1, 2024, UNHCR, from https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Publications/BornFreeAndEqualLowRes.pdf
World Professional Association for Transgender Health. (2011). Standards of Care for the Health of Transsexual, Transgender, and Gender Nonconforming People. Retrieved from https://www.wpath.org/media/cms/Documents/SOC%20v7/SOC%20V7_English.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอสงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ