ฺBook Review: The Psychology of Fake News: Accepting, Sharing, and Correcting Misinformation

Authors

  • Lecturer Dr.Nalinee Nakittipha Chuakhamfoo Faculty of Social Administration, Thammasat University, Bangkok, Thailand

Keywords:

Fake news, Misinformation, Disinformation, Cognitive processes, Deception

Abstract

ในยุคสมัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา รวดเร็ว และท่วมท้น ซึ่งเป็นผลพวงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมีทั้งข้อเท็จจริง ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลเท็จ และข่าวลวง กล่าวคือ ขณะนี้เราอยู่ในยุคสมัยที่ขอบเขตของเรื่องจริงกับเรื่องแต่งนั้นมีความชัดเจนน้อยลงเรื่อยมา ซึ่งบุคคลต้องประสพพบเจอในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนังสือ The Psychology of Fake News: Accepting, Sharing, and Correcting Misinformation ได้นำเสนอองค์ความรู้เพื่อชี้ให้เห็นว่าข้อมูลบิดเบือนถูกแพร่ไปอย่างไร ผ่านมุมมองของนักจิตวิทยาสังคมและนักวิจัยชั้นนำในสาขาที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งอธิบายถึงกระบวนการของการรู้คิดของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อข่าวลวง กลุ่มนักวิจัยระดับแนวหน้าของโลกได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวลวงในหนังสือเล่มนี้โดยจัดสรรเนื้อหาเป็น 12 บท ภายใต้ 3 ตอน โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้พยายามนำเสนอองค์ความรู้เพื่อให้เกิดการทำความเข้าใจปัญหาและชวนให้ผู้อ่านได้คิดถึงประเด็นว่าในฐานะผู้บริโภคข้อมูลซึ่งบางครั้งอาจเป็นผู้ผลิตข้อมูลจะสามารถทำอย่างไรกับข่าวลวงและข้อมูลบิดเบือนต่างๆได้บ้าง

References

Greifeneder, R., Jaffé, M. E., Newman, E. J., & Schwarz, N. 2021). The psychology of fake news: Accepting, sharing, and correcting misinformation (R. Greifeneder, M. E. Jaffé, E. J. Newman, & N. Schwarz (Eds.)). Routledge/Taylor & Francis Group.

Downloads

Published

20-05-2024

How to Cite

Nakittipha Chuakhamfoo, N. (2024). ฺBook Review: The Psychology of Fake News: Accepting, Sharing, and Correcting Misinformation. Journal of Social Work and Social Administration, 32(1), 319–333. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/view/272625