Long-term Care for the Elderly in Europe Development and Prospects

Authors

  • Punyaphat Sangwongdee Huachiew Chalermprakiet University, Master of Social Work Program in Social Welfare Administration

Abstract

การดูแลระยะยาว กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นในรัฐสวัสดิการร่วมสมัยหลายแห่งทั่วโลก อันเนื่องมาจากสถานการณ์ของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีจำนวนผู้สูงวัยมากขึ้นทำให้เกิดภาวะสังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ โดยหนังสือ Long-term Care for the Elderly in Europe : Development and Prospects ได้นำเสนอกรณีศึกษาอย่างละเอียดของ 11 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่ ฮังการี ลิทัวเนีย โปแลนด์ โปรตุเกส อิตาลี กรีซ สหราชอาณาจักร (31 มกราคม 2563 สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป) เยอรมัน ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงระบบการจัดสวัสดิการที่แตกต่างกันในแต่ละรัฐสวัสดิการ รวมถึงโครงการ และมุมมองต่อการลงทุนทางสังคมที่รัฐมีให้กับการดูแลระยะยาว

หนังสือเล่มนี้รวบรวมโดยบรรณาธิการ คือ Bent Greve ศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์รัฐสวัสดิการ ซึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการที่ครอบคลุมเนื้อหาหลายด้าน เช่น การประกันสังคม ตลาดแรงงาน การเงิน การใช้จ่ายภาษี ความสุข และสุขภาวะ นอกจากนี้ก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยุโรปศึกษา ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการในระดับภูมิภาค และผู้แก้ไขปัญหาพิเศษในด้านนโยบายสังคม และการบริหาร

สำหรับผู้เขียนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย Zofia Czepulis-Rutkowska นักวิจัยอาวุโสในสถาบันแรงงานและสังคมศึกษาในวอร์ซอ (โปแลนด์), Róbert I. Gál นักวิจัยอาวุโสที่สถาบันวิจัยประชากรศาสตร์ฮังการี และศาสตราจารย์ของ Corvinus University (CUB) ในบูดาเปสต์ (ฮังการี), Caroline Glendinning ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แห่ง University of York (สหราชอาณาจักร), Giovanni Lamura นักวิจัยของ Department of Gerontological Research of the Italian National Research Centre on Ageing (INRCA), Ismo Linnosmaa ศาสตราจารย์และรองผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพและเศรษฐศาสตร์สังคม (CHESS) ที่สถาบันเพื่อสุขภาพและสวัสดิการแห่งชาติ ฟินแลนด์, Alexandra Lopes อาจารย์อาวุโสและนักวิจัยในภาควิชาสังคมวิทยา แห่ง University of Porto (โปรตุเกส), Margitta Mätzke ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการเมืองและนโยบายสังคม ที่ Johannes Kepler University ในเมืองลินซ์Linz (ออสเตรีย), Lien Nguyen นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์สุขภาพและเศรษฐศาสตร์สังคม (CHESS) ที่สถาบันสุขภาพและสวัสดิการแห่งชาติในประเทศฟินแลนด์, Emmanuele Pavolini ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาเศรษฐกิจและนโยบายสังคมที่ University of Macerata (อิตาลี), Virginija Poškuté นักวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจและสังคม และทำงานให้กับ ISM University of Management and Economics (ลิทัวเนีย), Costanzo Ranci ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์สังคมวิทยา ที่ Polytechnic of Milan (อิตาลี), Platon Tinios ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ University of Piraeus (กรีซ) และ Tobias Wiß นักวิจัยหลังปริญญาเอก ที่ Hertie School of Governance ในเบอร์ลิน (เยอรมณี) โดยหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 12 บท ในบทที่ 1 อธิบายเกี่ยวกับการดูแลระยะยาว บทที่ 2 - 11 นำเสนอการดูแลระยะยาวของรัฐสวัสดิการในแต่ละประเทศ และ  บทที่ 12 บทสรุป

References

Greve, B. (Ed.). (2017). Long-term care for the elderly in europe : Development and prospects. (Social welfare around the world, 3). Abingdon, Oxon: Routledge.

Downloads

Published

2020-12-31

How to Cite

Sangwongdee, P. (2020). Long-term Care for the Elderly in Europe Development and Prospects. Journal of Social Synergy, 11(3), 80–86. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/thaijss/article/view/241156