การสร้างโอกาสเข้าถึงอาหารในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19: กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมผลิตและบริโภคผักปลอดสารในครัวเรือนชุมชนเกาะบางฝาด ต.ศีรษะจระเข้ใหญ่ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ
Keywords:
ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท, การปลูกผักปลอดสารพิษ, ความมั่นคงทางอาหาร, แกนนำชุมชนAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทเรียนการบรรลุผลลัพธ์การบริหารโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดสารในครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะบางฝาด หมู่ 6 ต.ศีรษะจระเข้ใหญ่ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นขุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้สสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ปี พ.ศ. 2563-2564 โครงการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีและบริโภคผักที่ปลูกในครัวเรือน การดำเนินงานเป็นแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา วางแผน ดำเนินการ ติดตามและประเมินผล การเก็บข้อมูลเป็นแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและใช้กระบวนการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(Action Research Evaluation : ARE) โดยพี่เลี้ยงวิชาการในระดับชุมชน 3 ครั้ง และระดับจังหวัด 2 ครั้ง ผลการดำเนินงานพบว่า ชุมชนบางฝาดมีความเข้มแข็งในการส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน โดยมีคณะกรรมการระดับชุมชนสามารถขับเคลื่อนการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดสารประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสมาชิกในชุมชนขาดรายได้ไม่มีความมั่นคงทางอาหารเพราะถูกเลิกจ้างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อเนื่องมา 2 ปี ได้มีความมั่นคงทางอาหารของสมาชิกในชุมชนจำนวน 94 ครัวเรือน จาก 100 ครัวเรือนในชุมชน เกิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ คือ การจัดการความคิดเรื่องรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันในสภาวะยากลำบาก คณะกรรมการมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง กล้าหาญ เข้มแข็งอดทน ขับเคลื่อนกิจกรรมจนเกิดการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงอาหารปลอดภัยและมีความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต หลังจากนั้นชุมชนได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านศีล 5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุมชนมีความรักสามัคคี มีความสงบสุข รวมถึงได้เกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับอำเภอเป็น “กลุ่มรักษ์บางเสาธง” ซึ่งเกิดจากอุดมการณ์ที่จะช่วยเหลือครอบครัวและกลุ่มเปราะบางในชุมชน แล้วเกิดกองทุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจากการประกอบการเพื่อสังคมจากผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของสมาชิกนั้น ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ผู้นำหลักในชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับรู้การทำงานของกลุ่มปลูกผักปลอดสารมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าว มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนมีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Journal of Social Synergy
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว