สภาวะของสถานประกอบการโรงแรมและภัตตาคารขนาดย่อมและขนาดเล็กในจังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

Suchart In-klam

บทคัดย่อ

          สถานภาพของสถานประกอบการโรงแรมและภัตตาคารขนาดย่อมและขนาดเล็ก ในจังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้การปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจนี้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ดำเนินการศึกษาในพื้นที่จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการดำเนินของธุรกิจสถานประกอบการโรงแรมและภัตตาคารขนาดย่อมและขนาดเล็กอยู่อย่างหนาแน่น เก็บข้อมูลจากเจ้าของสถานประกอบการโรงแรมและภัตตาคารขนาดย่อมและขนาดเล็ก (Micro and Small Enterprises ; MSEs) โดยสถานประกอบการขนาดย่อมและเล็กมีบุคลากร 1–9 และ 10–19 คน ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 170 ราย สุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนชั้นภูมิ (Proportional Stratified Random Sampling) และ กำหนดตัวอย่างใช้การกำหนดแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ในปี 2554 จำนวน 1 ครั้ง


          เจ้าของสถานประกอบการ MSEs ของโรงแรมและภัตตาคารส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 40–49 ปี ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนในอำเภอและจังหวัดเดียวกับที่ตั้งของสถานประกอบการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี โดยมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบัน 12 ปี และประสบการณ์ทำงานทั้งหมด 20 ปี เจ้าของ MSEs ของอุตสาหกรรมโรงแรมและภัตตาคารเคยเป็นลูกจ้างมาก่อน ความเป็นอยู่ของเจ้าของ MSEs ของโรงแรมและภัตตาคารส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเมื่อมาประกอบกิจการ ที่ตั้งของ กิจการส่วนใหญ่อยู่ในเขตเทศบาล โดยใช้โรงแรมและภัตตาคารเป็นสถานประกอบการและที่พักอาศัยด้วย การกระจายอายุของ MSEs ของอุตสาหกรรมโรงแรมและภัตตาคารเป็นลักษณะ U-shape


          เมื่อเริ่มกิจการของ MSEs โรงแรมและภัตตาคารส่วนใหญ่จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งแต่เริ่มกิจการ เงินลงทุนเมื่อเริ่มกิจการประมาณ 100,001–500,000 บาท แหล่งเงินทุนหลักที่ใช้เริ่มต้นกิจการส่วนใหญ่ใช้เงินส่วนตัวเป็นแหล่งเงินทุนหลักเมื่อเริ่มกิจการ รองลงมาใช้เงินของสมาชิกในครอบครัวหรือญาติ และเงินกู้ในระบบ โดยใช้เงินหมุนเวียน 100,001–500,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่เคยกู้เงินโดยกู้เงินจากสถาบันการเงิน ผลการดำเนินกิจการของ MSEs ของอุตสาหกรรมโรงแรมและภัตตาคารมีผลการดำเนินงานแบบพออยู่ได้ ขณะที่เพียงร้อยละ 31 มีกำไรมาโดยตลอด การรวมกลุ่มของ MSEs ของอุตสาหกรรมโรงแรมและภัตตาคารยังมีการรวมกลุ่มกันน้อย

Article Details

How to Cite
In-klam, S. (2017). สภาวะของสถานประกอบการโรงแรมและภัตตาคารขนาดย่อมและขนาดเล็กในจังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 12(2), 17–27. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/102325
บท
บทความวิจัย

References

[1] Allal, M. (1999). Micro and Small Enterprise Development and Poverty Alleviation in Thailand. Working Paper 1, Project ILO/UNDP: THA/99/003. International Labour Organization Retrieved from https://www.ilo.org/public/english/employment/ent/papers/thai1.htm.

[2] Audretsch, D. B., Wiegand, J., & Weigand, C. (2002). The Impact of the SBIR on Creating Entrepreneurial Behavior. Economic Development Quarterly, 16(1), 32-38.

[3] Iqbal, F., & Shujiro, U. (2002). Small Firm Dynamism in East Asia: An Introductory Overview. Small Business Economics, 18(1-3), 1-12.

[4] Jovanovic, B. (1982). Selection and the Evolution of Industry. Econometrica. 50(3), May, 649-700.

[5] Liedholm, C. (2002). Small Firm Dynamics: Evidence from Africa and Latin America. Small Business Economics, 18, 227-242.

[6] Liedholm, C., & Mead, D. C. (1999). Small Enterprises and Economic Development. The Dynamics of Micro and Small Enterprises. Routledge Studies in Development Economics. New York.

[7] Liedholm, C., McPherson, M. A., & Chuta, E. (1994). Small Enterprise Employment Growth in Rural Africa. American Journal of Agricultural Economics, 76(5), 1177-1182.

[8] Nugent, J. B., & Yhee, S. (2002). Small and Medium Enterprises in Korea: Achievements, Constraints and Policy Issues. Small Business Economics, 18(1-3), 85-119.

[9] Okpara, J. O., & Wynn, P. (2007). Determinants of Small Business Growth Constraints in a
Sub-Saharan African Economy. SAM Advanced Management Journal. Retrieve from https://www.allbusiness.com/management/4508144-1.html.

[10] Paitoonpong, Srawooth., Chalamwong, Yongyuth., Rattanakhamfu, Saowaruj., Rodsomboon, Sujittra., Piewthong-ngarm, Kullapapruk., Thienthong, Anongnuch., et al. (2007.) An In-depth Study on Employment in Micro and Small Enterprises. Thailand Development Research Institute.

[11] Parel, C. P., et al. (1973). Sampling Design and Procedures. Papers on Survey Research Methodology.
Phuket Provincial Statistical Office. (2013). Phuket Provincial Situation Report. Phuket.

[12] Yamawaki, H. (2002). The Evolution and Structure of Industrial Clusters in Japan. Small Business Economics, 18(1-3), 121-140.