การพัฒนาความสอดคล้องของมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสำรวจ
ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องในประชาคมอาเซียนครอบคลุมประเด็น (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ
มาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน มาตรฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม มาตรฐานด้านห้องน้ำสาธารณะ
มาตรฐานที่พักแบบสัมผัสวัฒนธรรมชนบท มาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมาตรฐานสถานที่
ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาความสอดคล้องของมาตรฐาน
การท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (3) รูปแบบมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวที่สอดคล้องตาม
แนวคิดการพัฒนามาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (4) ความสอดคล้องและความ
แตกต่างของมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (5) รูปแบบการ
ปฏิบัติตามมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวที่เหมาะสมและแนวนโยบายในการพัฒนามาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (6) ความคิดเห็นอื่น ๆ ในการพัฒนา
มาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องมีการ (1)
สร้างความแตกต่างในสินค้าและการบริการให้มีเอกลักษณ์และความเป็นพิเศษ (2) เป็นผู้นำด้านราคา
(3) กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน (4) มีทิศทางในการพัฒนาความสอดคล้องของ
มาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (5) จัดการเพื่อให้เกิดความน่าสนใจที่หลาก
หลาย (6) มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย (7) สร้างและรักษาความสามารถในการแข่งขัน
(8) สร้างคุณค่าและความพอใจ และ (9) สร้างแนวความคิดการเปรียบเทียบเพื่อการแข่งขัน และพัฒนา
ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนามาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย (1) การเพิ่มศักยภาพที่
อาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ภาครัฐมีความจริงจัง
ให้ความสำคัญทุก ๆ ด้านทุกระดับ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (3) การปรับปรุงกฎหมาย
กฎระเบียบต่าง ๆ การอบรมคุณธรรม จริยธรรม การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบ (4) การร่วมมือ
ประชาสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึง สร้างความรู้ ความเข้าใจอย่างทั่วถึง (5) มีนโยบายและมาตรการเพื่อ
ส่งเสริมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน (6) มาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากการท่องเที่ยว เร่ง
ปรับปรุงและพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจท่องเที่ยว (7) เพิ่มความ
วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม 2556)
35
เข้มงวดด้านการตรวจสอบด้วยการพัฒนาระบบมาตรฐานทางการท่องเที่ยว (8) การจัดทำกลยุทธ์และการ
วางแผนแก้ปัญหามาตรฐานการท่องเที่ยว และ (9) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การอำนวยความ
สะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
คำสำคัญ : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม ห้องน้ำ
สาธารณะ ที่พักแบบสัมผัสวัฒนธรรมชนบท การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสำรวจ
ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องในประชาคมอาเซียนครอบคลุมประเด็น (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ
มาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน มาตรฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม มาตรฐานด้านห้องน้ำสาธารณะ
มาตรฐานที่พักแบบสัมผัสวัฒนธรรมชนบท มาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมาตรฐานสถานที่
ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาความสอดคล้องของมาตรฐาน
การท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (3) รูปแบบมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวที่สอดคล้องตาม
แนวคิดการพัฒนามาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (4) ความสอดคล้องและความ
แตกต่างของมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (5) รูปแบบการ
ปฏิบัติตามมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวที่เหมาะสมและแนวนโยบายในการพัฒนามาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (6) ความคิดเห็นอื่น ๆ ในการพัฒนา
มาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องมีการ (1)
สร้างความแตกต่างในสินค้าและการบริการให้มีเอกลักษณ์และความเป็นพิเศษ (2) เป็นผู้นำด้านราคา
(3) กำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน (4) มีทิศทางในการพัฒนาความสอดคล้องของ
มาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (5) จัดการเพื่อให้เกิดความน่าสนใจที่หลาก
หลาย (6) มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย (7) สร้างและรักษาความสามารถในการแข่งขัน
(8) สร้างคุณค่าและความพอใจ และ (9) สร้างแนวความคิดการเปรียบเทียบเพื่อการแข่งขัน และพัฒนา
ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนามาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย (1) การเพิ่มศักยภาพที่
อาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ภาครัฐมีความจริงจัง
ให้ความสำคัญทุก ๆ ด้านทุกระดับ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (3) การปรับปรุงกฎหมาย
กฎระเบียบต่าง ๆ การอบรมคุณธรรม จริยธรรม การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบ (4) การร่วมมือ
ประชาสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึง สร้างความรู้ ความเข้าใจอย่างทั่วถึง (5) มีนโยบายและมาตรการเพื่อ
ส่งเสริมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน (6) มาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากการท่องเที่ยว เร่ง
ปรับปรุงและพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจท่องเที่ยว (7) เพิ่มความ
วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม 2556)
35
เข้มงวดด้านการตรวจสอบด้วยการพัฒนาระบบมาตรฐานทางการท่องเที่ยว (8) การจัดทำกลยุทธ์และการ
วางแผนแก้ปัญหามาตรฐานการท่องเที่ยว และ (9) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การอำนวยความ
สะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
คำสำคัญ : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม ห้องน้ำ
สาธารณะ ที่พักแบบสัมผัสวัฒนธรรมชนบท การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
Article Details
How to Cite
จิตณรงค์รัตน์ อ. (2014). การพัฒนาความสอดคล้องของมาตรฐานธุรกิจท่องเที่ยวไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 9(1), 34–48. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/19775
Section
Research Article