ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่นักศึกษา ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทน
และสวัสดิการให้แก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
คือ ผู้ใช้บัณฑิตในสถานประกอบการประเภทธุรกิจบริการ ได้แก่ ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว และ
ธุรกิจโรงแรม ที่นักศึกษาสหกิจศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 45 แห่ง
ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดขนาดตัวอย่างในสัดส่วนที่
เท่ากันในแต่ละสถานประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนผู้ใช้บัณฑิตระดับหัวหน้างานขึ้นไป 1 คน และพี่เลี้ยง
ที่ดูแลนักศึกษา 1 คน ต่อ 1 สถานประกอบการ ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.877 เก็บรวบรวมข้อมูลได้ 56 ชุด คิดเป็นร้อยละ 62
ของแบบสอบถามทั้งหมด จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ F-test
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่
นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจ
ต่อสวัสดิการเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฟรีอยู่ในระดับมากเป็นลำดับ ที่ 1 รองลง
มาคือ การไปศึกษาดูงานฟรี และการได้รับส่วนลดจากผลิตภัณฑ์ขององค์กร ตามลำดับ ส่วนการจ่ายค่า
ตอบแทนให้แก่นักศึกษาผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจอยู่ระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจ
ของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดย
จำแนกตามประเภทธุรกิจบริการ พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตในธุรกิจบริการต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจ่ายค่า
ตอบแทนและสวัสดิการให้แก่นักศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้ใช้บัณฑิต
ในธุรกิจโรงแรมมีความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านอาหารมากกว่าธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจสายการบิน
คำสำคัญ : ความพึงพอใจ ผู้ใช้บัณฑิต ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ธุรกิจบริการ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทน
และสวัสดิการให้แก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
คือ ผู้ใช้บัณฑิตในสถานประกอบการประเภทธุรกิจบริการ ได้แก่ ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว และ
ธุรกิจโรงแรม ที่นักศึกษาสหกิจศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 45 แห่ง
ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดขนาดตัวอย่างในสัดส่วนที่
เท่ากันในแต่ละสถานประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนผู้ใช้บัณฑิตระดับหัวหน้างานขึ้นไป 1 คน และพี่เลี้ยง
ที่ดูแลนักศึกษา 1 คน ต่อ 1 สถานประกอบการ ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.877 เก็บรวบรวมข้อมูลได้ 56 ชุด คิดเป็นร้อยละ 62
ของแบบสอบถามทั้งหมด จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ F-test
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่
นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจ
ต่อสวัสดิการเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฟรีอยู่ในระดับมากเป็นลำดับ ที่ 1 รองลง
มาคือ การไปศึกษาดูงานฟรี และการได้รับส่วนลดจากผลิตภัณฑ์ขององค์กร ตามลำดับ ส่วนการจ่ายค่า
ตอบแทนให้แก่นักศึกษาผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจอยู่ระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจ
ของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดย
จำแนกตามประเภทธุรกิจบริการ พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตในธุรกิจบริการต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจ่ายค่า
ตอบแทนและสวัสดิการให้แก่นักศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้ใช้บัณฑิต
ในธุรกิจโรงแรมมีความพึงพอใจต่อสวัสดิการด้านอาหารมากกว่าธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจสายการบิน
คำสำคัญ : ความพึงพอใจ ผู้ใช้บัณฑิต ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ธุรกิจบริการ
Article Details
How to Cite
มงคลวนิช ผ. (2014). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่นักศึกษา ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการ. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 9(1), 49–63. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/19776
Section
Research Article