ความคาดหวังและความพึงพอใจด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวจำนวน 410 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติ เช่น ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะแจ้งเรื่องความไม่ปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 51.0 รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ประจำในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 35.4 และแจ้งญาติหรือคนรู้จัก จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 13.7 ตามลำดับ และได้รับข้อมูลด้านความไม่ปลอดภัยจากเว็บไซต์/ ออนไลน์/ โซเชียลมีเดีย จำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 75.6 รองลงมาคือ เพื่อน/ คนรู้จัก จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 14.9 และโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 9.5 ตามลำดับ
สำหรับความคาดหวังเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีระดับความคาดหวังอยู่ในระดับมาก (= 4.44) โดยประเด็นที่มีความความคาดหวังมากที่สุด คือ เรื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยที่มีจำนวนเพียงพอ เช่น ป้ายแจ้งเตือน กล้องวงจรปิด ทางหนีไฟ และด้านความปลอดภัยที่มีสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ถังดับเพลิง ระบบสัญญาณเตือนภัย แสงไฟ มีค่าเท่ากัน (
= 4.46)
ในส่วนของความพึงพอใจเกี่ยวกับความปลอดภัยหลังการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.12) โดยประเด็นที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ความพร้อมในการปฏิบัติงานช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เช่น จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสถานที่แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ (
= 4.22)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Amaraphibal, W. (2018). A Causal Relationship Model of Fear of Crime among Foreign Tourist in Pattaya and Bang Saen, Chonburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2975–2992.
Central Bureau of Investigation (CBI). (2012). Tourist Security and Facilitation Strategy 2012–2015. National Police Chiefs’ Council.
Division of Standards and Tourist Safety Supervision. (2018). Tourism Safety Measures. https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/tourist/download/article/article_20171128144640.pdf
Fuangfoo, P. (2017). The Approach to Build Confidence in the Safety of Foreign Tourists in Thailand. National Defense College.
Khamsee, N. & Wattanakamolchai, S. (2018). The Influence of Perception of Destination Safety through Social Media on Tourist’s Decisions to Travel to Chiang Mai, Thailand. https://scholar.utcc.ac.th/handle/6626976254/3871
Nonuch, M. & Somjai, S. (2020). Infrastructure, Facility’s Support System, Role of Tourist Police and Public Participation that Effect Tourist’s Safety, Chonburi Province. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 157–168.
Saengthongdee, T. (2018). Tourist Safety Models in Tourism in Ayutthaya Province. Journal of Criminology and Forensic Science, 4(2), 22–38.
Sonprates, P. (2021). Security Management for the Service Users: Case Study Chatuchak Flea Market, Bangkok. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 16(2), 51–62.
Wongphan, C. (2019). A Study of Factors Related to Tourist Dissatisfaction in Not Revisiting Bangkok of European Tourists. Journal of Graduate School, Chandrakasem Rajabhat University, 14(1), 65–78.
Yamane, T. (1970). Statistic: Introductory Analysis. Harper and Row.