การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ประเมินการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายและ (2) เปรียบเทียบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย จำแนกตามลักษณะของธุรกิจ ทุนในการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน และจำนวนพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย จำนวน 127 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าค่าคะแนนสูงสุด คือ ด้านการเอาใจใส่ผู้ใช้บริการ รองลงมาคือด้านการให้บริการการรับจ่ายเงิน และต่ำที่สุดคือ ด้านการสร้างความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทาง สำหรับผลการเปรียบเทียบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย จำแนกตามลักษณะของธุรกิจ ทุนในการดำเนินงาน ระยะเวลาในการดำเนินงาน และจำนวนพนักงานในธุรกิจ พบว่า ธุรกิจนำเที่ยวที่มีลักษณะของธุรกิจ ทุนในการดำเนินงาน ระยะเวลาในการดำเนินงาน และจำนวนพนักงานในธุรกิจต่างกัน มีการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวต่างกัน โดยสรุป ผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการระบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดบริการต่อไป
Article Details
References
[2] ศูนย์บริหารจัดการความรู้. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. วันที่ค้นข้อมูล 10 มกราคม 2558, จาก กรมการท่องเที่ยว http://www.tourismkm-asean.org
[3] กรมการท่องเที่ยว. (2554). สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์. วันที่ค้นข้อมูล 10 มกราคม 2558, จาก กรมการท่องเที่ยว http://www.tourism.go.th/subweb/listcategory/6/151.
[4] คมสัน สุริยะ. (2551). กรอบแนวคิดโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว. วันที่ค้นข้อมูล 27 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.tourismlogistics.com
[5] มนสิชา อินทจักร. (2555). ผลกระทบของคุณลักษณะขององค์กรที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[6] รวิพร คูเจริญไพศาล. (2549). การกระจายช่องทางการตลาดและลอจิสติกส์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[7] ศูนย์บริการให้ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย. (2555). กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย. วันที่ค้นข้อมูล 2 กันยายน 2557, จาก http://tourismchiangrai.com/index.php?p=view&dis=1&g=5
[8] อนงค์ ไพจิตประภาภรณ์. (2552). การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม. จุลสาร กพร: กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 7(1), 3-5.
[9] Avci, U., Madanoglu, M. and Okumus, F. (2011). Strategic Orientation and Performance of Tourism Firms: Evidence From a Developing Country. Tourism Management, 32, 147-157.
[10] Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. New York, Ny : McGraw-Hill.
[11] Pongpearchan, P. and Mumi, A. (2014).Strategic Human Capital Focus, Marketing Innovation, and Firm Success of Exporting Furniture Business in Thailand. International Journal of Business Research, 14(1), 73-85.
[12] Zineldin, M. (2004).Total Relationship and Logistics Management. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 34(3/4), 286-301.