การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมเครือข่ายกับกลุ่มโรค NCDs ตามแนวคิด “สร้างนำซ่อม”

ผู้แต่ง

  • เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การสื่อสารสุขภาพ, สื่อสังคมเครือข่าย, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมเครือข่ายกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs ตามแนวคิด “สร้างนำซ่อม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้โรค NCDs ตามแนวคิด “สร้างนำซ่อม” ผ่านสื่อสังคมเครือข่ายของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลโรค NCDs ตามแนวคิด “สร้างนำซ่อม” ผ่านสื่อสังคมเครือข่ายของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามกับ คนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีบัญชีการใช้สื่อสังคมเครือข่าย
ผลการวิจัยพบว่า คนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 396 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.90 อายุส่วนใหญ่อยู่ช่วง 35-39 ปี ร้อยละ 38.10 สถานภาพสมรส ร้อยละ 60.40 และโสด ร้อยละ39.60 ระดับการศึกษามากที่สุดในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.50 มีอาชีพทำงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 53.50 มีรายได้ 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 29.30 มีการเปิดรับข้อมูลโรค NCDs ผ่านสื่อสังคมเครือข่าย ซึ่งคนในวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร เลือกเปิดรับสื่อสังคมเครือข่ายได้มากกว่า 1 สื่อ พบว่า สื่อที่เปิดรับมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ร้อยละ 90.05 ไลน์ ร้อยละ 89.64 ยูทูบ ร้อยละ 68.83 อินสตาแกรม ร้อยละ 40.40 และทวิตเตอร์ ร้อยละ 34.09 โดยมีการรับรู้โรค NCDs จาการเปิดรับสื่อสังคมเครือข่ายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.25 เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค NCDs ค่าเฉลี่ย 4.44 สถานการณ์และลักษณะโรค NCDs ค่าเฉลี่ย 4.26 และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ค่าเฉลี่ย 4.11 การปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพตามแนวคิด “สร้างนำซ่อม” เพื่อป้องกันโรค NCDs เป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการความเครียด ด้านการพัฒนาทางจิตใจ ด้านความสัมพันธ์กับบุคคล มีระดับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.42 ค่าเฉลี่ย 4.41 และ 4.30 ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่า การปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพควรให้ความสำคัญในด้านจิตใจเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ส่วนด้านการรับประทานอาหาร ด้านออกกำลังกาย มีระดับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับความคิดเห็นมาก มีค่าเฉลี่ย 3.85 ค่าเฉลี่ย 3.81 และค่าเฉลี่ย 3.74 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมดูแลสุขภาพด้านร่างกายคนส่วนใหญ่รับรู้และสนใจปฏิบัติ แต่ยังมีระดับความคิดเห็นน้อยกว่าในการปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพในด้านจิตใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30