การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอย่างมีส่วนร่วม ของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านป่าหมาก (ปกาเกอะญอ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • องค์ บรรจุน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อังสุมาลิน จำนงชอบ คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร, หมู่บ้านกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ), บ้านป่าหมาก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนบ้านป่าหมาก และบริบททางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชนเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในพื้นที่บ้านป่าหมาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร : กรณีศึกษา หมู่บ้านกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) บ้านป่าหมาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ แนวคิดและทฤษฎีที่ผู้วิจัยเลือกใช้มี 6 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดการท่องเที่ยวและองค์ประกอบการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร การบูรณาการและการมีส่วนร่วม แนวคิดการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว แนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการธำรงชาติพันธุ์ และแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการฟื้นฟูวัฒนธรรมเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ บ้านป่าหมาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ราย 2) ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นอาสาสมัครทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครชุมชนบ้านป่าหมาก จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บริบทของพื้นที่บ้านป่าหมาก มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ วัฒนธรรม กิจกรรม การเดินทางเข้าถึงในอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร คือ ปัจจัยด้านความต้องการที่จะช่วยเหลือและแบ่งปันความรู้ของตนเองสู่ผู้อื่น ร้อยละ 22.14 และกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร สนใจมากเป็นอันดับแรก ได้แก่ การแจกสิ่งของ และแจกเสื้อผ้าให้แก่ผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 36.38 ลำดับต่อมา การเลี้ยงอาหารเด็ก ๆ คิดเป็นร้อยละ 18.18 ผู้วิจัยจึงได้มีข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ดังนี้ 1) แนวทาง การพัฒนาเอกลักษณ์ในท้องถิ่น เพื่อนำมาสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจในการเดินทางไปเยือน 2) แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร 3) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในชุมชนท้องถิ่น 4) แนวทางส่งเสริมการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนในด้านความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและภาษาการพยายามรักษาอัตลักษณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะตัวของชุมชน 5) แนวทางการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครให้มีความหลากหลายและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายนักท่องเที่ยวและชุมชน ที่เข้าร่วมการทำกิจกรรมอย่างแท้จริง 6) แนวทางส่งเสริมการประชาสัมพันธ์พื้นที่และกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านป่าหมากให้แก่นักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครนานาชาติในระดับสากล 7) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมของหน่วยงานและองค์กร (CSR) สู่การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร

Author Biographies

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

องค์ บรรจุน, คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อังสุมาลิน จำนงชอบ, คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31