แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของพื้นที่ดงเหยี่ยวดำทุ่งใหญ่ปากพลี จังหวัดนครนายก

-

ผู้แต่ง

  • Jutatip junead 0994589555

คำสำคัญ:

แผนพัฒนาการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ยั่งยืน ดงเหยี่ยวดำ ทุ่งใหญ่ปากพลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ความหลากหลายของทรัพยากรทางธรรมชาติของพื้นที่ดงเหยี่ยวดำทุ่งใหญ่ปากพลี จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาศักยภาพความพร้อมของพื้นที่ดงเหยี่ยวดำทุ่งใหญ่ปากพลีในมิติของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ 3) เพื่อวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนทุ่งเหยี่ยวปากพลี จังหวัดนครนายก รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และทฤษฎีที่ผู้วิจัยเลือกใช้มี 5 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพ แนวคิดด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แนวคิดด้านการมีส่วนร่วม และแนวคิดด้านการวางแผนพัฒนา เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ทุ่งใหญ่ปากพลี จังหวัดนครนายก (ประเทศไทย) กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจาก 4 กลุ่ม โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน และแบบวิเคราะห์ความหลากหลายของทรัพยากรทางธรรมชาติ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการสำรวจ ความหลากหลายของทรัพยากรทางธรรมชาติ ในพื้นที่ จากการศึกษา พบว่า มีนก 38 ชนิด จำแนกเป็นนกน้ำ 14 ชนิด เหยี่ยว 2 ชนิด นกกระเต็น 2 ชนิด กลุ่มนกกินลูกไม้ 1 ชนิด (นกตีทอง) กลุ่มนกกินซาก 1 ชนิด กลุ่มนกนางแอ่น 2 ชนิด นกเขา 2 ชนิด และนกกินแมลง-กินปลาเล็กอีก 14 ชนิด ค่าโดยค่า Diversity index ของนก เท่ากับ 3.05 ค่าความสม่ำเสมอเท่ากับ 0.87 สำหรับความหลากหลายพันธุ์ไม้พบ กลุ่มหญ้า 9 ชนิด พืชคลุมดิน 4 ชนิด พืชผิวน้ำ 3 ชนิด พืชใต้น้ำ 6 ชนิด สาหร่ายหัวไม้ขีด สาหร่ายพุง พืชยืนต้น 20 ชนิด ค่าดัชนีความหลากหลาย อยู่ที่ระดับ 2.68 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอ 0.75 ผลการศึกษาศักยภาพความพร้อมของพื้นที่ดงเหยี่ยวดำทุ่งใหญ่ปากพลีในมิติของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากการประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ผลคะแนนการประเมิน ในด้านที่ 4 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน (D) จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ได้ 3.46 คะแนน จัดอยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีเยี่ยม ขั้นตอนสุดท้ายกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้น ร่วมกับคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนทุ่งเหยี่ยวปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งได้ วิสัยทัศน์ คือ “ดินแดนทุ่งเหยี่ยวปากพลีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดดเด่น ต้นแบบชุมชนเกษตรยั่งยืนในระดับสากล” มีทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและกระจายรายได้สู่ชุมชน 3) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นต้นแบบพัฒนาสังคมแบบบูรณาการ และ 4) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนเพื่อปลูกจิตสำนักด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาจิตใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20