ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกิจการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

-

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี

คำสำคัญ:

อสังหาริมทรัพย์, นายหน้า, นายหน้าอสังหาริมทรัพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยศึกษาช่องโหว่และหาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายและวิธีการปฏิบัติงานของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของต่างประเทศ ในเรื่องการควบคุมคุณสมบัติ จริยธรรม บทลงโทษของผู้ประกอบวิชาชีพทั้งที่มีใบอนุญาตและผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 2) เพื่อศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมาแนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาศึกษาประกอบกับงานวิจัยเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกิจการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาข้อเปรียบเทียบเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของไทย และนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของต่างประเทศ เพื่อสงวนให้วิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นวิชาชีพของคนไทยโดยเฉพาะ หรืออาจมีการกำหนดเงื่อนไขว่าชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยควรมีหลักเกณฑ์เช่นใด 4) เพื่อศึกษาแนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จากบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญนำมาประยุกต์ใช้ และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อให้มีการร่างพระราชบัญญัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. …. ขึ้นมาควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่ใช้ควบคุมดูแลวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีการกระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 16 นายหน้า, พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558, พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551, พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542, บันทึกข้อตกลงร่วมสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยว่าด้วย จรรยาบรรณนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2544 ทำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพ การศึกษากฎหมายไม่เป็นในแนวทางเดียวกัน หากต้องการศึกษาข้อกฎหมายต้องศึกษาข้อกฎหมายข้อบังคับจากกฎหมายหลายฉบับเพื่อนำมาประกอบการใช้กฎหมายทำให้เกิดความสับสน ดังนั้นการร่างพระราชบัญญัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. …. มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยนำเสนอให้ภาครัฐเห็นเหตุผล และความสำคัญเพื่อนำออกมาบังคับใช้ เนื่องจากเป็นการกำหนดและควบคุมมาตรฐานวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน     

Author Biography

เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20