ตัวแบบเส้นทาง PLS วิถีการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบจังหวัดจันทบุรีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี ทองแย้ม คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านต้นแบบ วิถีการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับวิถีการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านต้นแบบจังหวัดจันทบุรีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบจังหวัดจันทบุรีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวิถีการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบจังหวัดจันทบุรีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบนตัวแบบเส้นทากำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสอบถาม (Questionnaire) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างสมาชิกในชุมชนหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดจันทบุรีจำนวน 400 คน วิธีดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 14.0 และ WarpPLS version 3.0 และเทคนิคการวิเคราะห์โมดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) รวมถึงการพรรณนาข้อมูล

          ผลการวิจัยพบว่า แนวทางเพื่อศึกษาลักษณะหมู่บ้านต้นแบบ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการลดรายจ่าย ด้านการลดรายจ่าย ด้านการประหยัด ด้านการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและด้านความเอื้ออารีย์ต่อกันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีด้านสังคมวัฒนธรรม โดยท่านมีสวนร่วมในการวิเคราะห์และจัดลําดับความสําคัญของปัญหาของหมู่บ้าน มีมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยท่านมีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านเทคโนโลยีโดยหมู่บ้านของท่านส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยีสมยใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือลดเวลาการทํางาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการลดรายจ่ายโดยครัวเรือนของท่านมีอาชีพอื่นนอกจากอาชีพหลัก ที่ทําให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการเรียนรู้โดยหมู่บ้านของท่าน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือจัดเวทีการเรียนรู้ในเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยท่านมักจะแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างสมํ่าเสมอ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านผู้นําหมู่บ้าน โดยหน่วยงานของรัฐได้ผลักดัน กระตุ้นให้สมาชิกในหมู่บ้านดําเนินชีวิตตามแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านเศรษฐกิจ โดยครัวเรือนของท่านมีการประกอบอาชีพอย่างสมํ่าเสมอ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการประหยัดโดยครัวเรือนของท่านมีการใช้จ่ายอย่างประหยัดคํานึงถึงความสมเหตุ สมผลก่อนใช้จ่าย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยหมู่บ้านของท่านมีการใช้วัสดุหรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและประหยัด มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการเอื้ออารีต่อกัน โดยหมู่บ้านของท่านมีการทบทวนแผนหมู่บ้านทุกๆ ปีปัญหา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด

          ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐของหมู่บ้านต้นแบบจังหวัดจันทบุรีมีความสัมพันธ์กับความสําเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ที่เอื้อต่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงคือ มีการประสานงานกับระหว่างหน่วยงานรัฐกับหมู่บ้านเพื่อหาแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน มีการถ่ายทอด ความรู้ ให้แก่สมาชิกหมู่บ้าน มีการผลักดันและกระตุ้นให้สมาชิกในหมู่บ้านดําเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงพบว่าความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส่วนราชการ เป็น ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการนํานโยบายไปปฏิบัติของหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20