รูปแบบการสื่อสารและความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อโครงการกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ในเขตนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ ชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วราพร ดำจับ School of Communication Arts, Sripatum University Chonburi Campus

บทคัดย่อ

การจัดโครงการกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมถือเป็นบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารและความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ที่มีต่อการจัดโครงการกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยคือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน  ในเขต ต.เกาะลอย ต.บางหัก ต.บ้านเก่า ต.บางนาง ต.มาบโป่ง ต.หน้าประดู่ ต.คลองตำหรุ ต.ดอนหัวฬ่อ ต.หนองไม้แดงและต.พานทอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าช่องทางการสื่อสารที่กลุ่มตัวอย่างเข้าถึงมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Facebook รองลงมาเป็นการเข้าพบ/ประชุม และจากป้าย ช่องทางการสื่อสารที่กลุ่มตัวอย่างสะดวกที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารเรียงลำดับ 3 อันดับ ได้แก่ ช่องทาง Facebook โทรศัพท์และการเข้าพบ / ประชุม

             กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ72.50 เคยเข้าร่วมโครงการ / กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม

มีความพึงพอใจโครงการที่จัดโดยฝ่ายชุมชนสัมพันธ์อมตะมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดในทุกโครงการ มีระดับความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.61 เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดพบว่ามีความพึงพอใจ โครงการ AMATA Give First อมตะปนน้ำใจ (มอบถุงยังชีพชวยชุมชน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.73 รองลงมาโครงการโครงการอมตะสูภัยโควิด 19 (สนับสนุนหนวยงานทองถิ่น ศูนยพักคอยหรือสถานพยาบาลในพื้นที่) มีค่าเฉลี่ย 4.71 และโครงการสนับสนุนสินคาชุมชน สรางอาชีพ สรางรายได สูกลุม ชุมชน เชน เคยไดรับการสนับสนุนสินคาชุมชนจากอมตะ มีค่าเฉลี่ย 4.70

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31