การจัดการเผยแพร่ภูมิปัญญาของผู้สูงวัย ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • กรกฎ ผกาแก้ว Sripatum University
  • สิรินธร สินจินดาวงศ์ คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • รณิดา นุชนิยม คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การแลกเปลี่ยนประสบการณ์, นวัตกรรมทางสังคม, เผยแพร่ภูมิปัญญา, คุณค่าแก่ผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงวัย ในพื้นที่จ.ปทุมธานี  2)  พัฒนานวัตกรรมทางสังคมในการเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงวัยสู่สาธารณะ  กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ เลือกด้วยเทคนิค Snowball Sampling จำนวน 8 ท่าน และถอดบทเรียน ในรูปแบบบทความ หรือสื่อ เผยแพร่ผ่าน Web Blog  และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เครื่องมือในการวิจัย เป็นข้อคำถามในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงวัย 4 ประเด็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1.1) ประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ เป็นวิทยากรของกรมแรงงาน อาชีพระยะสั้น ในชมรมผู้สูงอายุ และผู้ที่สนใจ 1.2) การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี หลักสูตรออนไลน์และทดลองลงมือทำ 1.3) ภูมิปัญญาเดิมที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการเข้าร่วมกลุ่มชมรม ต่อยอดทำอาชีพเสริมรายได้ ขึ้นทะเบียนสินค้า OTOP รวมกลุ่มเพื่อให้ชุมชนดูแลตัวเอง 1.4) แนวทางในการส่งมอบความรู้ ภูมิปัญญาไปสู่เยาวชน มีการจัดศูนย์เรียนรู้ทั่วประเทศ สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ ผ่านสถาบันศึกษา โดยผู้สูงอายุร่วมเป็นวิทยากร 2) ผลพัฒนานวัตกรรมทางสังคมในการเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงวัย 2.1) ผลการจัดอบรม/สัมมนา ภูมิปัญญาด้านขนมไทย และสาธิตการทำขนมไทยผ่าน YouTube 2.2) การเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงวัยผ่าน Web Blog: เครือข่ายภูมิปัญญาผู้สูงวัย By SPU และแชร์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) รวบรวมเขียนบทความเล่าเรื่องภูมิปัญญาผู้สูงวัยในด้านศิลปะหัตถกรรม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ด้านการเกษตร และด้านการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31