การพัฒนาระบบควบคุมไม้แขนกั้นและไฟจราจรสำหรับข้ามถนนด้วยเทคโนโลยีไอโอที กรณีศึกษา โรงเรียนระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาในเทศบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระบบไม้แขนกั้นและไฟจราจร, เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง, เว็บแอพพลิเคชั่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อพัฒนาระบบควบคุมไม้แขนกั้นและไฟจราจรสำหรับข้ามถนนด้วยเทคโนโลยีไอโอที 2) เพื่อวัดประสิทธิภาพระบบควบคุมไม้แขนกั้นและไฟจราจรสำหรับข้ามถนนด้วยเทคโนโลยีไอโอที และ 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างระบบไฟจราจรข้ามถนนเดิมกับระบบควบคุมไม้แขนกั้นและไฟจราจรสำหรับข้ามถนนด้วยเทคโนโลยีไอโอที โดยผู้วิจัยได้ประดิษฐ์เครื่องไม้แขนกั้นและไฟจราจรที่ทำงานด้วยบอร์ด We Mos D1 ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยัง NETPIE2020 และสั่งการผ่าน Web Application ที่พัฒนาด้วยภาษา PHP และ Bootstrap Framework การรวบรวมข้อมูลใช้แบบประเมินผลประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ จากกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด จำนวน 100 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน 2) เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง 5 คน และ 3) กลุ่มคนผู้ข้ามถนน จำนวน 90 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของระบบทั้ง 4 ด้าน เป็นดังนี้ 1) Functional requirement test ค่าเฉลี่ยรวมของประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี (  = 3.95) 2) Function test ค่าเฉลี่ยรวมของประสิทธิภาพในระดับดี (  = 3.94) 3) Usability test ค่าเฉลี่ยรวมของประสิทธิภาพในระดับดี (  = 3.84) และ 4) Security test ค่าเฉลี่ยรวมของประสิทธิภาพในระดับดี (  = 3.96) การประเมินความพึงพอใจต่อระบบทั้ง 3 ด้าน เป็นดังนี้ 1) ด้านความเหมาะสมต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมาก (  = 2) ด้านการทำงานของระบบ ค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมาก (  = 4.01) และ 3) ด้านความปลอดภัย ค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (  = 4.04) จากผลการวิจัยประสิทธิภาพและความพึงพอใจของระบบพบว่า มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี และในส่วนของการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างระบบไฟจราจรข้ามถนนเดิมกับระบบควบคุมไม้แขนกั้นและไฟจราจรสำหรับข้ามถนนด้วยเทคโนโลยีไอโอที สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับระบบไฟจราจรข้ามถนนแบบเดิม

References

กิตติเชษฐ์ นนทะสุด และพีรพนธ์ ตัณฑ์จยะ. (2562). ระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้องเรียนแบบอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยี Internet of thing: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), หน้า 159-171.

จิรวัฒน์ แท่นทอง, สุภลักษณ์ ตาแก้ว และกนกลักษณ์ ศรพระขรรค์ชัย. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมเครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยงด้วยการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(1), หน้า 28-40.

เจษฎา ขจรฤทธิ์, ปิยนุช ชัยพรแก้ว และหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสำหรับบ้านอัจฉริยะ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), หน้า 1-11.

ณัฐพัชญ์ ศรีราจันทร์ และภีมวัจน์ วรรณทวี. (2562). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการโจรกรรมด้วยเซนเซอร์การตรวจจับการสั่นสะเทือน บนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 6(4), หน้า 30-44.

บล็อกของ PoundXI. (2561). NodeMCU คืออะไร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://poundxi.com/ nodemcu-คืออะไร/ [2563, 22 พฤศจิกายน].

พรคิด อั้นขาว. (2562). ระบบควบคุมสารละลายธาตุอาหารแบบอัตโนมัติสำหรับปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ด้วย Internet of Things (IoT). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลศรีวิชัย, 11(1), หน้า 146-157.

วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และรัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), หน้า 172-182.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. (2565). จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

จากอุบัติเหตุทางถนน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.thairsc.com/ [2565, 22 มกราคม].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-02