วัตถุแห่งคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนและการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

วัตถุแห่งคดี, การละเมิดสิทธิมนุษยชน, การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับประเภทคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนและการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ความผิดตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพยุโรปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) และขอบเขตคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย ฉบับที่ 26 ว่าด้วย การจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ที่ได้กำหนดวัตถุแห่งข้อหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ควรจะนำไปพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในการขยายความพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7(11) เพื่อเป็นกลไกล และหลักเกณฑ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารับคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแทนที่จะใช้ดุลยพินิจรับคดี ซึ่งเมื่อพิจารณาการรับคดีของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7(11) ดังนั้น ถ้าจะมีหลักเกณฑ์ในการสร้างกลไกลให้แก่ศาลรัฐธรรมนูญในการรับพิจารณาคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนและสร้างดุลยพินิจเพิ่มเติมดังที่  มีอยู่แล้วก็จะทำให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิมนุยชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights). กรุงเทพฯ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2555). กระบวนการสันติภาพในรวันดา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประไพพัทน์ สวัสดี. (2551). ปัญหาความคุ้มกันในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : ศึกษาค าพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในคดี Arrest Warrant. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492. (2492, 23 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา.

เล่ม 66 (ตอนที่ 17), หน้า 1-80.

วิกิพีเดีย. (2565). ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ[2566, 8 กุมภาพันธ์].

วิทิต มันตาภรณ์. (2560). การเสวนาเรื่อง พันธกรณีและการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://humanrights.mfa.go.th/th/news/140/ [2561, 20 ตุลาคม].

สถาบันพระปกเกล้า. (2556). รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ส านักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2563). รายงานประจ าปี 2563 ศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรีเพรส.

________. (2564). รายงานประจ าปี 2564 ศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรีเพรส.

แอมเนสตี้. (2565). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/udhr/ [2566, 13 มกราคม].

Inter-American Court of Human Rights. (2017). Annual report 2017. Costa Rica: Inter-American Court of Human Rights

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27