การศึกษาปัจจัยและความคิดเห็นต่อการออมเงินของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อการออม, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, พันธบัตรรัฐบาลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมเงิน แนวโน้มและเป้าหมายต่อการออมเงินของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ซึ่งมีอายุระหว่าง 22-60 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามโดยส่งผ่านระบบออนไลน์ และนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้ง ดำเนินการทดสอบสมมติฐาน วิเคราะห์ ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Independent Sample: (T-test) และ One way ANOVA : (F-test)
การศึกษาวิจัยได้รับการตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 204 ตัวอย่าง พบว่า ข้อมูลพื้นฐานของตัวอย่างร้อยละ 64.7 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 22-39 ปี มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงถึงร้อยละ 93.62 โดยมีข้อมูลปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยรวมต่อเดือน 15,001-20,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมต่อเดือนอยู่ต่ำกว่า 15,000 บาท มีจำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน 1,001-2,000 บาท ปัจจัยที่มีผลต่อการออม คือ การสร้างรากฐานให้ครอบครัว และใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ ในการนี้ ผลของการศึกษาวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการออมของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง พบว่ามีความแตกต่างกันด้านเพศ และอายุ เนื่องด้วยเพศหญิงมีความละเอียดรอบคอบมากกว่าเพศชาย ทั้งด้านการบริหารจัดการตนเอง และครอบครัว รวมทั้ง ประชากรอยู่ในวัยหนุ่มสาวที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต และอนาคตของตนเอง ด้านการออมมีความแตกต่างกันเนื่องด้วยการมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานมีรายได้หลักจากเงินเดือน มีตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต่างกัน ส่วนรายจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับรายได้ และด้านภาระหนี้สิน พบว่ามีภาระหนี้สินมีไม่มากนัก สามารถควบคุมได้ รวมทั้ง บุคลากรบางส่วนไม่มีภาระหนี้สินที่จะต้องชำระ ส่งผลทำให้ข้อมูลมีการออมที่แตกต่างกัน เพื่อความชัดเจน ผู้ศึกษาวิจัย ได้ทำการศึกษาเพิ่ม ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการออมของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง โดยมีวัตถุประสงค์การออม 5 ด้าน 1) ด้านครอบครัว เพื่อการใช้จ่ายในการบริโภค และการดำรงชีพในปัจจุบัน 2) ด้านพัฒนาการศึกษา/ การฝึกอบรมสำหรับตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ การงาน 3) ด้านหลักประกันชีวิต/สุขภาพของตนเอง และครอบครัว เพื่อความเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษายามเจ็บป่วย และประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนเกิน 4) ด้านหลักประกันความมั่นคงของชีวิตหลังเกษียณอายุ เพื่อความเพียงพอสำหรับการดำรงชีพหลังเกษียณอายุ 5) ด้านการลงทุน เพื่อความมั่นคงในการดำรงชีวิตในอนาคต ส่วนใหญ่ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางจนถึงดีมาก นอกจากนี้ แนวโน้มของการออมพบว่าพันธบัตรรัฐบาลมีความมั่นคงมากกว่าการออมในรูปแบบอื่น
References
กนกดล สิริวัฒนชัย และอิทธิกร ขำเดช. (2557). การตัดสินใจลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง
-48 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://thaiejournal.com/journal/2557volumes1/28.pdf [2565, 20 เมษายน].
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑาธิบดิ์ ฤกษ์สันทัด. (2555). เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนและข้าราชการ
ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป,
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เดือนรุ่ง ช่วยเรือง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของภาคครัวเรือนในชุมชนเกาะเปียะ
จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธัญลักษณ์ หมอยา. (2550). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออม กรณีศึกษา: พนักงาน
บริษัทสยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด สาขาเวียงกุมกาม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563 (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก: https://www.1213.or.th/th/flsurveyreport/2563ThaiFLsurvey.pdf
, 20 เมษายน].
บุญเลิศ จิตรมณีโรจน์ และวีระชาติ กิเลนทอง. (2557). การเตรียมความพร้อมสาหรับการวางแผน
ทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงานในระบบข่วงอายุ 25-39 ปี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://classic.set.or.th/th/setresearch/events/files_forum/forum20140929_1.pdf
, 10 พฤษภาคม].
พิชามญชุ์ ศรีสุวรรณ พวงเพ็ญ ชูรินทร์ และนิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
การบริหารการเงินกับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ใน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (หน้า 341-352).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พิมพ์จันทร์ ชวดจะโป๊ะ ทับทิม พิมพ์สาลี พัชริดา โสมาศรี และอทิยา สุทธิพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://ms.udru.ac.th/ACresearch/assets/pdf/20211019092529.pdf
, 10 พฤษภาคม].
มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2557). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/1580/3/
เอกสารหมายเลข2.pdf [2565, 5 พฤษภาคม].
ลออรัตน์ สุขสุแพทย์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญของ
บริษัทเค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ภายใต้แบรนด์ “อ๊อตเทริ วอช แอนด์ ดราย”
(otteri wash and dry) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-3-1_1564739694.pdf [2565, 20 เมษายน].
วสุ สุทธิพงษ์ชัย. (2564). การลงทุน-ออมเงิน” ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ในปี 2564 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
https://tonkit360.com/76355 [2565, 20 เมษายน].