รูปแบบการสื่อสารผ่าน Line กับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในสถานการณ์โควิด 19

ผู้แต่ง

  • เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสาร , ไลน์, ประสิทธิผลการทำงาน

บทคัดย่อ

รูปแบบการสื่อสารผ่าน Line กับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในสถานการณ์โควิด 19 มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารผ่าน Line กับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในสถานการณ์โควิด 19 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของรูปแบบการสื่อสารผ่าน Line ที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานของ ในสถานการณ์โควิด 19  3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานของ ในสถานการณ์โควิด 19 และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการสื่อสารผ่าน Line  กับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในสถานการณ์โควิด 19

โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแบบสอบถาม  มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ได้แก่  สถาบันปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน Line มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้าน

พฤติกรรมการสื่อสารผ่าน Line  ด้านการสื่อสารในมหาวิทยาลัย และ ด้านประสิทธิภาพการสื่อสารผ่าน Line  และประสิทธิผลการทำงาน ในสถานการณ์โควิด 19 จากการสื่อสารผ่าน Line ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภาพของแต่ละบุคคล (Productivity) การขาดงาน (Absenteeism)  ผลการปฏิบัติงาน (Performance) และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ทัศนคติของบุคคล (Individual Attitude) ความเครียด (Stress) และการตั้งใจลาออก (Turnover)  ประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในสถานการณ์โควิด 19   แตกต่างกันตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา มหาวิทยาลัย และรายได้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนที่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญ   รูปแบบการสื่อสารผ่าน Line  มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในสถานการณ์โควิด 19  ได้แก่ การสื่อสารในมหาวิทยาลัย มีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับมาก ต่อการผลิตภาพของแต่ละบุคคล (Productivity)  พฤติกรรมการสื่อสารผ่าน Line และประสิทธิภาพในการสื่อสารผ่าน Line มีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับมาก และปานกลาง ต่อ ผลการปฏิบัติงาน (Performance)  ตามลำดับ

คำสำคัญ : รูปแบบการสื่อสาร , ไลน์, ประสิทธิผลการทำงาน

References

กระทรวงแรงงาน. (2563). ประกาศ/มาตราการ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/announce [2564, 15 สิงหาคม].

กัลยา วานิชยบัญชา. (2549). สถิติสําหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศปรียา แก้วแสนเมือง และพรจิต สมบัติพานิช. (2559). พฤติกรรมการใชและความพึงพอใจจากแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ของผู้ทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: JCIS59065.pdf [2565, 8 พฤศจิกายน].

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19 : การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมทองถิ่น, 4(3), หน้า 371-386.

ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค และสันต์ ลมไธสง. (2564). การบริหารแบบไร้ผู้บริหาร : รูปแบบองค์กรธุรกิจยุควิถีชีวิตแบบ New normal. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 7(3), หน้า 1-13.

เบญจวรรณ แจ่มจํารุญ. (2557). ปจจัยบรรยากาศในการสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการในการสื่อสาร และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รวีวรรณ ประกอบผล. (2545). องค์ประกอบและกระบวนการของการสื่อสาร ใน เอกสารการสอนชุดวิชา หลักและทฤษฏีการสื่อสาร หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

เรียนา หวัดแท่น และน้ํามนต์ เรืองฤทธิ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2),

หน้า 1040-1055.

วัลลภ วรรณโอสถ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). “ปัจจัยด้านการทํางานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของนักบัญชีบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1) หน้า 971-982.

สมิธ พิทูรพงศ์. (2561). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทํางาน: กรณีศึกษา บริษัท สหผลิตภัณฑ์ พาณิชย์ จํากัด. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สํารวย พยอมใหม่. (2565). การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), หน้า 319-336.

สุดารัตน์ สะโดอยู่และแสงจิตต์ ไต่แสง. (2565). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เอลเลค แอนดเอลเทค (ประเทศไทย) จํากัด จังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), หน้า 1-10.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2563). ทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพล รุ่งโรจน์กิจกุล. (2558). พฤติกรรมการใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.

Griffin, Ricky W. , & Moorhead Gregory. (2001). Organizational Behavior: Managing People And Organizations (11th ed.). United states: Houghton Mifflin.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill

Rovinelli, J. Richard., & Hambleton, K. Ronald. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, pp. 49-60

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27