ความสมดุลชีวิตกับการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่: กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตเส้นใยแก้วนำแสงในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • นัฐพล แววปัญญาศิลป์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

ความสมดุลงานและชีวิตส่วนตัว, ความตั้งใจคงอยู่, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของความสมดุลชีวิตกับการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตเส้นใยแก้วนำแสงแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในบริษัทผู้ผลิตเส้นใยแก้วนำแสงแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน

             ผลการวิจัยพบว่า

               1) พนักงานบริษัทผู้ผลิตเส้นใยแก้วนำแสงแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ และประสบการณ์ ที่แตกต่างกันจะมีระดับความตั้งใจคงอยู่ของพนักงานที่แตกต่างกัน

               2) ความสมดุลชีวิตกับการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การจัดกิจกรรมทางสังคม การให้ค่าตอบแทนพิเศษ การสนับสนุนทางการศึกษา และการจัดการเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น ตามลำดับ

References

ฐานิตตา สิงห์ลอ. (2563). ความสมดุลในชีวิตการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 3. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐกานต์ พ่อค้า. (2560). ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานธุรกิจอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ : กรณีศึกษาบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นรินทร์ทิพย์ ประศรีรเตสัง และดุษฎี อายุวัฒน์. (2562). ปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่อสมดุลชีวิตกับงานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ : กรณีงานและชีวิตส่วนตัวส่งเสริมซึ่งกันและกัน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 36(2), หน้า 35-54.

นิศาชล โทแก้ว. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความสมดุลในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้าธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปัทมาวรรณ จินดารักษ์ และสายสุนีย์ เกษม. (2562). สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความหลากหลายของกลุ่มวัย. วารสารนักบริหาร, 39(1), หน้า 3-11.

สมชัย ปราบรัตน์. (2561). ความสมดุลของชีวิตและทำงานของพนักงาน ในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตประเภทอาหารแปรรูปบรรจุกระป๋อง: กรณีศึกษาเฉพาะ 3 บริษัทขนาดใหญ่ในจังหวัดสงขลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 (หน้า 527-538). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุภา เข็มแข็งปรีชานนท์, ระวี สัจจโสภณ และศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(1), หน้า 169-190.

Cabello, C. A. (2022). An evaluative study of business process outsources’ work-life balance policies and programs among customer service associates. International Journal of Health Sciences, 6, pp. 9431-9446.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3d ed). NY: John Wiley & Sons.

Sudibjo, N., & Suwarli, M. B. N. (2020). Job embeddedness and job satisfaction as a mediator between work-life balance and intention to stay. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 11(8), pp. 311-331.

Mensah, A., & Adjei, N. K. (2020). Work-life balance and self-reported health among working adults in Europe: a gender and welfare state regime comparative analysis. BMC Public Health, 20(1), pp. 1-14.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. NY: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31