การปรับปรุงระบบและตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าเพื่อลดเวลาในการหาและ หยิบสินค้าของคลังสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด

ผู้แต่ง

  • กุสุมา พิริยาพรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า, การลดเวลาในการหาและหยิบสินค้า, ABC-FSN Matrix Analysis

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดเก็บสินค้าและระบุสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการหาและหยิบสินค้า และเพื่อปรับปรุงกระบวนการและตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้าของ บริษัท ABC จำกัด ซึ่งจากการศึกษากระบวนการทำงานภายในคลังสินค้าพบว่า พนักงานใช้เวลาในการหาและหยิบสินค้านานเนื่องจากการจัดเก็บสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงวางแผนการปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าโดยใช้เครื่องมือ ABC Analysis และ FSN Analysis ในการวิเคราะห์กลุ่มของสินค้าตามทฤษฎี ABC-FSN Matrix Analysis จากนั้นทำการเปรียบเทียบระยะเวลาในการหยิบสินค้าโดยใช้โปรแกรม FlexSim ในการจำลองการหยิบสินค้าก่อนและหลังการปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บ และจำลองการหยิบสินค้าจากใบเบิกสินค้า (Picking List) 6 ใบ พบว่า ระยะเวลาที่ใช้ในการหยิบสินค้า ก่อนการปรับปรุงตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าใช้ระยะเวลาในการหยิบสินค้าเฉลี่ย 4 นาที 1.3 วินาที และหลังการปรับปรุงใช้ระยะเวลาในการหยิบสินค้าเฉลี่ย 3 นาที 46.7 วินาที ต่อ 1 ใบเบิกสินค้า ซึ่งลดลง 14.6 วินาที

References

ณัฐปรียา ฉลาดแย้ม, ประกายกาณ์ ชูศร และยุภาพร ตงประสิทธิ์. (2566). การวิเคราะห์แบบเอบีซี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://rb.gy/u2occa [2566, 3 มีนาคม].

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียริ และกฤติยา เกิดผล. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), หน้า 65-72.

ปิยะวัฒน์ ปรีดาวัฒน์, วิริยา ปานปรุง และวลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์. (2565). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยใช้การจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายก๊าซอุตสาหกรรม. Journal of Applied Statistics and Information Technology, 7(2), หน้า 26-47.

เพ็ญนภา สุพรมอินทร์ และนิภาพร ศรีทุมมา. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท สหรุ่งเรืองขนส่ง (2520) จำกัด สาขาจังหวัดเลย. โครงงานวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์, วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

แพรพลอย พุฒิพงศ์บวรภัค และปริญ วีระพงษ์. (2561). การลดระยะเวลาในการหยิบจ่ายสินค้ากรณีศึกษา บริษัท PP&A จำกัด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 (หน้า 102-114). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคลธัญบุรี.

สุนันทา อนันต์ชัยทรัพย์ และชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2564). การปรับปรุงการจัดวางตำแหน่งสินค้าภายในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ โคราช จำกัด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, 9(2), หน้า 11-24.

สุพัฒตรา เกษราพงศ์, ประภาพรรณ เกษราพงศ์, และอวยชัย สลัดทุกข์. (2555). การลดของเสียใน กระบวนการผลิตชิ้นส่วนท่อไอเสียรถจักรยานยนต์. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2555 (หน้า 951-958). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรญา ชูทอง, วิชญุตร์ งามสะอาด และปิยะเนตร นาคสีดี. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังอุปกรณ์เครื่องมือช่าง กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วน มาเบิ้ล ฮาร์ดแวร์ จำกัด. Journal of science and technology, Southeast Bangkok College, 2(2), หน้า 25-39.

Devarajan, Divya., & Jayamohan, M. S. (2016). Stock control in a chemical firm: combined FSN and XYZ analysis. Procedia Technology, 24, pp. 562-567.

Dixit, A., Shah B., & Sonwaney, V. (2020). Picking improvement of an FMCG warehouse: a lean perspective. International Journal of Logistics Economics and Globalisation, 8(3), pp. 243-271.

McInerney, S. E., & Yadavalli, V. S. S. (2022). Increasing warehouse throughput through the development of a dynamic class-based storage assignment algorithm. South African Journal of Industrial Engineering, 33(2), pp. 157-167.

Richards, G. (2018). Warehouse Management (3rded.). Croydon: CPI Group (UK).

Xiang, Li. (2014). Operations Management of Logistics and SupplyChain: Issues and Directions. Discrete dynamics in nature and society, (2), pp. 1-7.https://DOI:10.1155/2014/701938

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31