การปรับปรุงกระบวนการจัดการเอกสารของแผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักร : กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
คำสำคัญ:
การปรับปรุงวิธีการทำงาน, แผนภูมิกระบวนการไหล, ระบบ Cloudบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการจัดการเอกสารของแผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักร และปรับปรุงวิธีการทำงานในกระบวนการจัดการเอกสารของแผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจากการศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการจัดการเอกสารของแผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักร พบว่า มีการใช้คนในการจัดส่งเอกสาร และเกิดการรอคอยในการอนุมัติคำร้องในเอกสาร ทำให้การปฏิบัติงานและการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าเกิดความล่าช้า
จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ปรับปรุงกระบวนการจัดการเอกสาร เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยนำวิธีการลดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS วิธีการวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล (Activity process flow chart) และการนำระบบ Cloud มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเอกสาร
ผลที่ได้รับจากการปรับปรุงกระบวนการจัดการเอกสาร สามารถลดขั้นตอน จากเดิม 15 ขั้นตอน เหลือเพียง 10 ขั้นตอน ลดลงได้ 5 ขั้นตอน คิดเป็น ร้อยละ 33.33 และมีระยะเวลาการทำงานทั้งหมดเฉลี่ยก่อนปรับปรุง 133.26 นาที หลังปรับปรุงใช้เวลาเฉลี่ย 82.21 นาที สามารถลดเวลาได้เฉลี่ย 51.05 นาที คิดเป็นร้อยละ 38.31
References
กนกวรรณ สกุลทรงเดช และญาณิศา เครือแก้ว. (2565). การปรับปรุงกระบวนการบรรจุชิ้นงาน: กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 8(1), หน้า 30-47.
กุสุมา ไชยโชติ. (2559). การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีก. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จิรภา บุญพาสุข. (2566). อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปี 2023 มีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังต้องจับตาความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://www.scbeic.com/th/detail/product/electronics-210623 [2566, 15 กันยายน].
จิรวัฒน์ วรวิชัย, ภาคภูมิ ใจชมภู, ธวัชชัย ไชยลังการ และณัฐภัทร กาญจนเรืองรอง. (2563). การปรับปรุงวิธีการทำงานในการบรรจุชิ้นงานขึ้นรูปพลาสติก: กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์.วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(2), หน้า 148-164.
จิรัชยา นครชัย. (2553). ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ณัฐชา ฮุนพานิช และภาณุ บูรณจารุกร. (2564). การปรับปรุงการเดินเอกสารงานวิจัย โดยใช้แนวคิดลีน กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 4(1), หน้า 1-15.
ดิทโต้ (ประเทศไทย). (2564). ลดต้นทุนกระดาษ ปรับองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลด้วย E-Document เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.dittothailand.com/dittonews/e-document/ [2566, 15 กันยายน].
ศิริพร ขอพรกลาง. (2550). การควบคุมคุณภาพ พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์.
สุนันท์ ธาติ, อลงกรณ์ เมืองไหว, ธณิดา โขนงนุช, วิชิต ธรรมพิทักษ์ และเอกชัย สัจจอังกูร. (2565).การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบคลาวด์ - เนทีฟ สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเเละการจัดการสินค้าคงคลัง. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), หน้า 12-22.
Armbrust, M., Fox, A., Griffith, R., Joseph, A. D., Katz, R., Konwinski, A., & Zaharia, M. (2010).A view of cloud computing. Communications of the ACM, 53(4), pp. 50-58.
Feld, W. M. (2000). Lean Manufacturing: Tools, Techniques, and How to Use Them. Boca Raton, Florida: CRC press.
Ishikawa, K. (1985). What is total quality control? The Japanese way. NJ: Prentice Hall.
Mell, P. & Grance, T. (2011). The NIST Definition of Cloud Computing (Special Publication 800-145). National Institute of Standards and Technology.
Nickels, W. G., McHugh, J. M., & McHugh, S. M. (2012). Understanding Business (6th ed.). NY: McGraw-Hill.
Report. (2566). อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2565 ไตรมาส 4 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/359-electronics-industry-2022-Q4-2023-Q1 [2566, 15 กันยายน].