การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์สินค้าพื้นเมือง วิสาหกิจชุมชน กลุ่มจักสานหวายมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์, สินค้าพื้นเมือง, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์สินค้าพื้นเมือง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยมีการดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา และพัฒนาเว็บไซต์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยสร้างตามแผนผังเว็บไซต์ โดยใช้แนวคิด Design Thinking Process และประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 สอบถามความพึงพอใจในเว็บไซต์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในการเผยแพร่ จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติที่ใช้เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า

               1) เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์สินค้าพื้นเมือง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีการพัฒนาเป็นไปตาม Site Map ที่ได้ออกแบบไว้ ทำให้ได้เว็บไซต์ที่เป็นไปตามความต้องการ และสามารถจะไปเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าพื้นเมือง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีได้ ผลการประเมินประสิทธิภาพของเว็บไซต์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด

               2) ความพึงพอใจของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์สินค้าพื้นเมือง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานหวายมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พัฒนาในที่อยู่ https://sites.google.com/view/mahason-rattan ได้รับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.46, SD=0.59) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, SD=0.59) รองลงมาคือ ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับมาก ( =4.48, SD=0.56) และด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.41, SD=0.63)

References

กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม. (2551). คู่มือการจัดเก็บข้อมูลและการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญางานช่างฝีมือพื้นบ้าน โครงการภูมิบ้านภูมิเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2540). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 22. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันทางการตลาด บ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), หน้า 121-130.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต.จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณิชนันทน์ จงใจสิทธิ์. (2560). การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(3), หน้า 33-47.

ณิชนันทน์ จงใจสิทธิ์ และวัชรีภรณ์ ดีสุทธิ. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(57), หน้า 100-109.

นงนภัส ไชยา. (2555). เครื่องจักสานในวิถีชีวิตไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/4353602566 [2566, 8 มิถุนายน].

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). ขั้นตอนการทำ Design Thinking สำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆ (ออนไลน์).

เข้าถึงได้จาก: https://www.popticles.com/business/steps-to-do-design-thinking [2566, 29 มีนาคม].

พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, ไพรสันต์ สุวรรณศรี, ศศิณิส์ภา พัชรธนโรจน์ และปฏิภาณพัฒน์ เพชรอินทร์. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์นำเสนอภูมิปัญญาล้านนาเชิงหัตถกรรมในพื้นที่ชุมชน วัดศรีสุพรรณ(วัวลาย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), หน้า 87-95.

ศิรินทร์ รอมาลี. (2563). การพัฒนาเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทางที่ทุกคนเข้าถึงได้ (WCAG) และหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), หน้า 127-135.

อรอนงค์ แก้วมาลา และทิพวิมล ชมภูคำ. (2560). การพัฒนาเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ของดี

อำเภอชนบท. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. (หน้า 1-7). จังหวัดมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์, กรรณิกา บุญเกษม, เพียงฤทัย หนูสวัสดิ์ และวาริณี โต๊ะและ. (2562). พัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการขายสินค้าของวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองมะค่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ครั้งที่ 4 และการประชุมนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1 “การยกระดับงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Best, W. J. (1970). Research in Education (3th ed.). Hoboken, NJ: Prentice-Hall Inc.

Cannabis Thai. (2564). ขั้นตอนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.cannabisthai.net/content/26414/ขั้นตอนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ [2565, 2 ธันวาคม].

Grasp Asia. (2564). ข้อดีของการมีเว็บไซต์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://grasp.asia/blog/ข้อดีของการมีเว็บไซต์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก [2566, 10 ตุลาคม].

Grey scale. (2563). 4 มิติ ประโยชน์ของเว็บไซต์ ที่คุณควรวางแผนให้ครอบคลุม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://greyscale.in.th/ประโยชน์ของเว็บไซต์ [2565, 1 ธันวาคม].

Rank Social Digital. (2562). เว็บไซต์ มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจอย่างไร ? (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.ranksocialdigital.com/เว็บไซต์มีความสำคัญอย่/ [2566, 10 มกราคม].

Seolnwza. (2562). ใจความสำคัญของการทำเว็บไซต์และการมีเว็บไซต์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://www.seolnwza.com/blog/read/the-essence-of-the-websites [2566, 30 ตุลาคม].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31