ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญในการเลี้ยงสุกรให้ประสบความสำเร็จ ของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ณิชกมล อัศวพันธุ์นิมิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อัควรรณ์ แสงวิภาค คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงในภาคการเกษตร, ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกร, การรับรู้ความเสี่ยง

บทคัดย่อ

   

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญของธุรกิจผู้เลี้ยงสุกร และจัดระดับปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญของธุรกิจผู้เลี้ยงสุกร ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดชลบุรี ที่ขึ้นทะเบียนฟาร์มสุกรกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งหมด 11 ราย หรือ 11 ฟาร์ม การวิจัยนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-Probability sampling) โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth interview) แบบรายบุคคล (Individual interview) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้การตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Induction) และนำมาเขียนบรรยาย (Descriptive) เป็นกรณีศึกษา (Case study) เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการศึกษาในครั้งนี้

  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญระดับมากที่สุด ได้แก่ ปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเลี้ยงสุกร สายพันธุ์ของสุกร การถ่ายเทของอากาศภายในโรงเรือนของสุกร ความผันผวนของราคาอาหาร หรือวัตถุดิบของสุกร ความรับผิดชอบของแรงงาน คุณภาพยา และเวชภัณฑ์ของสุกร การกำหนดให้ปฏิบัติตามมาตรฐานฟาร์ม แรงงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญระดับมาก ได้แก่ การเกิดโรคระบาดในสุกร ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินจากธนาคาร การกู้ยืมเงิน และสินเชื่อจากธนาคารเพื่อนำมาใช้ในการขยายกิจการ ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญระดับปานกลาง ได้แก่ จำนวนแรงงานที่เลี้ยงสุกรไม่สอดคล้องกับความต้องการของฟาร์มเลี้ยงสุกร สภาพจิตใจของแรงงาน การปรับสูตรอาหารของสุกร กระแสไฟฟ้าขัดข้องภายในโรงเรือนของสุกร การจัดการกลิ่นของมูลสุกรภายในฟาร์มสุกร และปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญระดับน้อย ได้แก่ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร

References

กิติพร เศรษฐภูมิภักดี, พิทักษ์พงศ์ กางการ และณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2565). การบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(4), หน้า 71-84.

เกสรสิริ ลีลาลัย, โอฬาร ถิ่นบางเตียว และรุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2565). การขูดรีดแอบแฝงในระบบเกษตรพันธสัญญา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(1), หน้า 104-122.

จิราวัฒน์ สุริยจันทร์. (2558). การประเมินต้นทุนและความเสี่ยงในการผลิตอาหารไก่ไข่โดยฟาร์มและการจ้างการผลิต กรณีศึกษาวัฒนาฟาร์ม. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยยา มะลิดา. (2566). การจัดการฟาร์มสุกรแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจสุกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 8(1), หน้า 176-196.

พลอยไพลิน สกลอรรจน์. (2563). Risk Management การจัดการความเสี่ยง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

http://www.roadsafetythai.org/image/1548226287_Handout_Risk%20Management%20(Add%20case).pdf [2564, 14 เมษายน].

ภาณุพงศ์ แซ่หลี. (2561). แนวทางส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากครัวเรือน กรณีศึกษา:เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์,1(1), หน้า 52-68.

รัตน์ชนก พรหมณ์ศิริ และบุษณีย์ เทวะ. (2566). การศึกษาความคิดเห็นในการจัดทำบัญชีต้นทุนของเกษตรกรเลี้ยงสุกร ในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(1), หน้า 83-96.

วัชรินทร์ อินทพรหม. (2562). การวิเคราะห์และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(2), หน้า 314-333.

ศรัณย์ จิตบุญ และคณะ. (2563). การเลี้ยงสุกรฟาร์มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร กรณีศึกษา: พรเทพฟาร์ม หมู่ที่ 5 ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 3(1), หน้า 43-56.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. (2564). ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และสุกรรายจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/report/regislives/2020/country/5-pig.pdf [2564, 25 กุมภาพันธ์].

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ. (2564). มาตรฐานฟาร์มสุกร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.swinethailand.com [2564, 29 มิถุนายน].

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์สินค้าสุกรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2564 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.swinethailand.com/17331130/สถานการณ์สินค้าสุกรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2564 [2564, 25 กุมภาพันธ์].

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี. (2564). ข้อมูลจำนวนฟาร์มมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2564 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://pvlo-cbr.dld.go.th/webnew/index.php/th/ [2564, 26 กุมภาพันธ์].

สำนักงานปศุสัตว์เขต 6. (2564). จํานวนเกษตรกรและสุกร รายจังหวัด ปี 2563 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://region6.dld.go.th/webnew/pdf/ict63/T5-1-Pig.pdf [2564, 26 กุมภาพันธ์].

สำนักงานปศุสัตว์เขต7. (2562). ASF ย่อมาจาก African Swine Fever (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://region7.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2019-09-27-02-08-46/407-asf-african-swine-fever [2565, 27 กุมภาพันธ์].

อัญธิกา มะหาวัน, เยาวเรศ เชาวนพูนผล, อนุพงศ์ วงศ์ไชย, ธีระพงษ์ เสาวภาคย์ และกรรณิกา แซ่ลิ่ว. (2564). การวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจการเลี้ยงสุกรขุนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, 49(suppl. 1), หน้า 657-664.

Aimin, H. (2010). Uncertainty, risk aversion and risk management in agriculture. Agriculture and agricultural science procedia, 1, pp. 152-156.

Duong, T. T., Brewer, T., Luck, J., & Zander, K. (2019). A global review of farmers’ perceptions of agricultural risks and risk management strategies. Agriculture, 9(1), pp. 1-16.

Economic Research Service. (2020). Risk in Agriculture (Online). Available: https://www.ers.usda.gov/topics/farm-practices-management/risk-management/risk-in-agriculture [2021, August 5].

Gul, M., & Guneri, A. F. (2016). A fuzzy multi criteria risk assessment based on decision matrix technique: A case study for aluminum industry. Journal of Loss Prevention in the Process Industries, 40, pp. 89-100.

Jankelova, N., Masar, D., & Moricova, S. (2017). Risk factors in the agriculture sector. Agricultural Economics, 63(6), pp. 247-258.

Kahan, D. (2013). MANAGING RISK in farming (Online). Available: https://www.fao.org/uploads/media/3-ManagingRiskInternLores.pdf [2021, August 5].

Lupton, S., Meuwissen, M., & Ingrand, S. (2020). Editorial introduction to the special issue risk management in agriculture. Agricultural Systems, 178, Article number 102748.

Meraner, M., & Finger, R. (2019). Risk perceptions, preferences and management strategies: evidence from a case study using German livestock farmers. Journal of Risk Research, 22(1), pp. 110-135.

Ogah, O., Ikyereve, F., & Ogebe, F. (2020). Analysis of risks in financing agriculture a case of agricultural cooperatives in benue state, Nigeria. International Journal of Agricultural Science, Research and Technology in Extension and Education Systems (IJASRT in EES), 10(2), pp. 81-86.

Theuvsen, L. (2013). Risks and risk management in agriculture. Problemy Rolnictwa Światowego, 13(4), pp. 162-174.

World Organisation for Animal Health. (2019). African swine fever: a socio-economic burden and a threat to food security and biodiversity (Online). Available:https://www.oie.int/en/disease/african-swine-fever/ [2022, February 27].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31