ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำข้าวแต๋น : กลุ่มหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา เฮ่ประโค Lampang Inter-Tech College
  • วราพร กลิ่นประสาท

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ข้าวแต๋น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนจากการทำข้าวแต๋น กลุ่มหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ทำข้าวแต๋น จำนวน 20 ราย ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนของการทำข้าวแต๋นต่อถุง ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง 7.56 บาทต่อถุง คิดเป็น ร้อยละ 46.04 ค่าแรงงานทางตรง 6.64 บาทต่อถุง คิดเป็น ร้อยละ 40.44 ค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่ 0.06 บาทต่อถุง คิดเป็น ร้อยละ 0.37 และค่าใช้จ่ายในการผลิตผันแปร 2.16 บาทต่อถุง คิดเป็น ร้อยละ 13.15 ต้นทุนรวมของการทำข้าวแต๋นต่อถุงเท่ากับ 16.42 บาท รายได้ต่อเดือน เท่ากับ 104,000 บาท มีต้นทุนในการทำข้าวแต๋นต่อเดือน เท่ากับ 85,384 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายข้าวแต๋นต่อเดือน เท่ากับ 18,616 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย ร้อยละ 17.90 รายได้ต่อปี เท่ากับ 1,248,000 บาท มีต้นทุนในการทำข้าวแต๋นต่อปี เท่ากับ 1,024,608 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายข้าวแต๋นต่อปี เท่ากับ 223,392 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 17.90 ทำให้การลงทุนทำข้าวแต๋น มีจุดคุ้มทุนต่อเดือนเท่ากับ 1,714.29 บาท และจุดคุ้มทุนต่อปีเท่ากับ 20,571.43 บาท ดังนั้น หากผู้ลงทุนทำข้าวแต๋น สามารถจำหน่ายได้จำนวนมากขึ้นทำให้ผู้ลงทุนมีกำไรสูงขึ้น ควรปรับเปลี่ยนภาพแบบการจ้างแรงงาน คือ การปรับจากการจ้างงานรายวันเป็นการจ้างงานแบบเหมา เพื่อป้องกันปัญหาแรงงานขาดแรงงานหรือทำงานแบบเฉื่อยชา อีกทั้งการจ้างเหมาเป็นการกระตุ้นให้แรงงานมีแรงผลักในการปฏิบัติงานมากขึ้น

References

จินตหรา แสนสามารถ. (2559). การผลิตปลาแปรภาพบ้านน้ำพ่นตําบลน้ำพ่น อําเภอหนอง วัวซอ

จังหวัดอุดรธานี. คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2550). การเงินธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ณัฐเสฏฐ์ สร้อยทองดี และนภาพร นิลาภรณ์กุล. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

เชิงพาณิชย์. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), หน้า 165-186.

ประภาภรณ์ เกียรติกุลวัฒนา. (2559). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สมชาย สุภทัรกุล และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2556). การบัญชี สำหรับผู้บริหารและผู้ประกอบการ.

กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2560). ข้าวแต๋นน้ำแตงโม (ออนไลน์).

เข้าถึงได้จาก: https://www.okmd.or.th/knowledge-box-set/articles/food/915/rice_cracker

, 18 พฤษภาคม].

สุฑามาศ ไชยคำ, ภัทรจาริน ศรียงค์, รัตติญา บุญเลิศ, สุภาดา บริบูรณ์มังสา และชุติกาญจน์ เกษลา. (2563).

รายงานฉบับวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวเม่า: กรณีศึกษา

ผู้ประกอบการในเขตบ้านกลางใหญ่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment

of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,

(2), pp. 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30