ศักยภาพกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการแข่งขัน ของมหาวิทยาลัยเอกชน

ผู้แต่ง

  • สุพล พรหมมาพันธุ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กลยุทธ์, การแข่งขัน, ระบบสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเอกชน

บทคัดย่อ

 

   วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชน จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สารสนเทศ และด้านการนำผลลัพธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้บรรลุตามเป้าหมาย 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่แต่ละมหาวิทยาลัยนำไปประยุกต์ใช้ ผลการวิจัยพบว่า ในการบริหารกิจการที่ดีของมหาวิทยาลัยเอกชน อยู่ในระดับมาก 3.45 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.54 รองลงมาเป็นด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.51 ด้านประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์สารสนเทศ 3.47 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผลลัพธ์การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้บรรลุเป้าหมาย 3.03 อยู่ในระดับปานกลาง

References

กาญจนา หรูเจริญพรพานิช และพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/215976/165765 [2566, 28 ตุลาคม].

กีระติกาญน์ มาอยู่วัง. (2563). การประยุกต์ใช้สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับวิชาการเมืองการปกครองของไทย รหัสวิชา 3000-1505 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/244813 [2566, 28 ตุลาคม].

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). วิธีดำเนินการวิจัย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2558/117795/chapter3.pdf [2566, 1 ธันวาคม].

จิตรลดา พันธุ์พณาสกุล และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2562). การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร, 16(2), หน้า 19-39.

ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2554). ความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ และประสิทธิผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3878/3365 [2566, 29 ตุลาคม].

ธีระ สินเดชารักษ์. (2565). อาจารย์ธรรมศาสตร์ ชำแหละผลกระทบ ‘วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อย’ เขย่าสังคมไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://tu.ac.th/thammasat-310165-crisis-thai-children-born-less [2566, 25 สิงหาคม].

สมาคมสภามหาวิทยาลัย (ประเทศไทย). (2566). สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสังกัด สกอ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://tagbth.wordpress.com [2566, 28 ตุลาคม].

Hauswald, R., & Marquez, R. (2006). Competition and strategic information acquisition in credit markets. The Review of Financial Studies, 19(3), pp. 967-1000.

O'brien, J. A., & Marakas, G. M. (2020). Management Information Systems. Boston: McGraw-Hill Irwin.

Williams, F. G.. (2017). The Globalization of Communications: A Global Village (Online). Available: https://hmhub.in/wp-content/uploads/2017/11/Unit-3-The-Globalization-of-Communications-A-Global-Village.pdf [2023, August 17].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31