การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • จงรักษ์ พลสงคราม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

มรดก, ทายาท, การสละมรดก

บทคัดย่อ

เมื่อเป็นทายาทรับมรดกมาแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิในการสละมรดกที่ได้รับมา แต่การสละมรดกที่จะมีผลในทางกฎหมายจะต้องเป็นการสละมรดกให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการ กล่าวคือ ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612) ซึ่งการสละมรดกนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615) ทำให้ทายาทที่สละมรดกไม่เคยเป็นทายาท และไม่เคยได้รับมรดกที่สละเลยนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทจึงต้องคืนทรัพย์มรดกที่สละสู่กองมรดกแต่การคืนทรัพย์มรดกที่สละจะรวมถึงการคืนดอกผลของทรัพย์มรดกที่เกิดก่อนการสละมรดกด้วยหรือไม่ และหลังจากที่ทายาทสละมรดกหากยังไม่มีทายาทอื่นมาดูแลทรัพย์มรดกที่สละใครจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ในการดูแลมรดกที่สละ ด้วยเหตุนี้จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615 เป็นว่า “การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย แต่ไม่กระทบถึงสิทธิของทายาทที่สละมรดกในทรัพย์มรดก ก่อนสละมรดก” และแก้ไขเพิ่มเติมเป็นมาตรา 1615/1 ทายาทผู้สละมรดกมีหน้าที่ในการดูแลทรัพย์มรดกที่สละเสมือนดูแลทรัพย์สินของตนเอง จนกว่าจะมีการส่งมอบมรดกที่สละให้กับทายาทอื่นผู้มีสิทธิ หรือจนกว่าทายาทอื่นผู้มีสิทธิจะเข้ามาจัดการดูแลทรัพย์มรดกที่สละ”

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31