การศึกษาแนวทางความต้องการนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาด้าน ความปลอดภัยการบินขณะปฏิบัติสหกิจศึกษาเพื่อเข้าทำงานต่อกับสถานประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม)

ผู้แต่ง

  • วีรภัทร เกศะรักษ์ วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, ความปลอดภัยการบิน, สหกิจศึกษา, วิทยาลัยการบินและคมนาคม, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางความต้องการนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาด้านความปลอดภัยการบิน ขณะปฏิบัติสหกิจศึกษาเพื่อเข้าทำงานต่อกับสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 3 องค์กร และผู้บริหารวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาแนวทางความต้องการนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาด้านความปลอดภัยการบินขณะปฏิบัติสหกิจศึกษา เพื่อเข้าทำงานต่อกับสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (กรณีศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม) ทำให้ทราบว่าทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการบินให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและให้ความสำคัญของการปฏิบัติตามแนวคิดของ Peter M. Senge สำหรับการรับบุคลากรเข้าทำงานและเพื่อให้การบริหารจัดการงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแนวทางความต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัยการบินตามแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารของวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลที่ตรงกับทฤษฎีของ Peter M. Senge ในภาพของการสอดแทรกเรื่องความปลอดภัยเข้าไปบูรณาการกับทฤษฎีแล้วหลักสูตรจะสามารถผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการบินที่ปฏิบัติอยู่ในแนวทางขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ได้

References

ธันยาภรณ์ เสาร์เกิด. (2560). แนวทางการเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงาน

สายบริการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองรัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญดี บุญญากิจ, นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย, ดิสพงษ์ พรชนกนาถ และปริยวรรณ กรรณล้วน. (2548). การจัดการความรู้...จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:

จิราวัฒน์.

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน. (2560). องค์การแห่งการเรียนรู้ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm [2566, 30 กรกฎาคม].

วิทยาลัยการบินและคมนาคม. (2562). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2562). กรอบแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.caat.or.th/th/ย้ายที่ทำการ [2566, 30 กรกฎาคม].

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Age and Practice of the Learning Organisation. London: Century Business.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31