การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียด ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วรันธร อรรคปทุม ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
  • นิศากร หวลจิตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การจัดการความเครียด, ชุดกิจกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 1-3 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และโปรแกรมชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent-Sample, t-test และ Paired-Sample  t-test

            ผลการวิจัยพบว่า ได้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า นักศึกษาที่ได้รับชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มีความสามารถในการจัดการความเครียดเพิ่มขึ้น และนักศึกษาที่ได้รับชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดการความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มีความสามารถในการจัดการความเครียดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม

References

คณะครุศาสตร์. (2564). ข้อมูลจำนวนนักศึกษาคณะครุศาสตร์. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2562). พันธกิจ คณะครุศาสตร์... (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.edu.rbru.ac.th/indexE.php?ac=education_history.php [2564, 23 ธันวาคม].

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). ชุดการเรียนการสอน ในประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน หน่วยที่ 14 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนารมย์ วรรณบุรี. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). เมื่อความเครียดของครูมีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://www.trueplookpanya.com/blog/content/85895/-blog- teaartedu-teaart

, 23 ธันวาคม].

มะมัสซูกี สามะแอ. (2551). ความเครียดและการจัดการความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขในสถานีอนามัย

จังหวัดนราธิวาส. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข,

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายปุ๊กส์.

ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. (2554). ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:

https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/47/ความเครียด-วิธีแก้ความเครียด/[2564, 23 ธันวาคม].

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุภาพ หวังข้อกลาง. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาและพัฒนาการ, คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

สุวดี ชูเส้ง, นิรนาท แสนสา และวัลภา สบายยิ่ง. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการจัดการความเครียด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา, วารสารราชพฤกษ์, 18(1), หน้า 128-138.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2rd ed.). NY: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01