ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลเอกชน
คำสำคัญ:
การบริหารความเสี่ยง, ปัจจัย, โรงพยาบาลเอกชน, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และปัจจัยที่มีผลต่อระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควต้า จำนวน 9 โรงพยาบาล จากนั้นใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกผู้รับบริการโรงพยาบาล จำนวน 405 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลเอกชนที่มีระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงสูงที่สุด คือ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กกับขนาดกลาง และโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ มีระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สูงกว่าโรงพยาบาลเอกชนในปริมณฑล ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประกอบด้วย ความคาดหวังของผู้รับบริการ การปฏิบัติตามกฎหมาย การมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงพยาบาล
References
กนกพร ยอดยศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และณรงค์ชัย สังชา. (2562). การพัฒนาระบบรายงานความเสี่ยงและการแจ้งเตือนในการบริหารความเสี่ยง ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(2), หน้า 27-41.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข พ.ศ. 2560-2579 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.
กาญจน์วจี จตุเทน และประจักษ์ บัวผัน. (2561). การบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(4), หน้า 167-178.
จิรัชยา เหล่าเขตร์กิจ, อารีรัตน์ ขำอยู่ และเขมารดี มาสิงบุญ. (2561). ปัจจัยทำนายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลเอกชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), หน้า 49-56.
จีรนันท์ ชานนท์ และประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์การที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(1), หน้า 216-228.
ชลธิรา ปะนาโส. (2560). การรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(2), หน้า 167-179.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิติพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2562). การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), หน้า 191-199.
วิสาขา ภู่จินดา. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
ศศิธร ธนะภพ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของพฤติกรรมองค์กรกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย กรณีศึกษา โรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), หน้า 81-92.
ศิริลักษณ์ ฤทธิ์ไธสง. (2560). การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ในบริบทของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(1), หน้า 77-87.
ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ. (2563). รายงานประจำปี 2563. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการ.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2560). ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2566). การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis: RCA) กับมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย” รูปแบบ Hybrid ในโครงการพัฒนากลไกการจัดการคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพและความปลอดภัย: 3P Safety Hospital ประจำปีงบประมาณ 2566, 25-26 พฤษภาคม 2566. กรุงเทพฯ: โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น.
สมมิตร สิงห์ใจ, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพาณี สีตกะลิน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลบรรยากาศองค์การ กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 43(ฉบับพิเศษ), หน้า 162-172.
สมฤทัย สายจันทร์, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพรทิพย์ กีระพงษ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรโรงพยาบาลสงฆ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 13(1), หน้า 27-45.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2566). การประชุมชี้แจง แนวทางการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566, 20 มิถุนายน 2566. กรุงเทพฯ: โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์.
Amelio, S., & Querci, E. (2019). CSR as a means of risk management in the healthcare sector: the case of social and health system-regione lombardia (Italy). Strategica, p. 575.
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). NJ: Prentice-Hall.
Buckė, V., Ruželė, D., Ruževičius, J., & Buckus, R. (2022). The link between the application of quality management principles and risk management in healthcare. In 12th International scientific conference “Business and management 2022”, 2022, May 12-13, Vilnius, Lithuania (pp. 1-12). VGTU Press.
Dineley, L. (2016). Risk management systems in healthcare. Thesis Doctor of Philosophy Medway School of Pharmacy, Faculty of Science University of Kent.
Etges, A. P. B. D. S., de Souza, J. S., Kliemann Neto, F. J., & Felix, E. A. (2019). A proposed enterprise risk management model for health organizations. Journal of Risk Research, 22(4), pp. 513-531.
Farokhzadian, J., Nayeri, N. D., & Borhani, F. (2015). Assessment of clinical risk management system in hospitals: an approach for quality improvement. Global Journal of Health Science, 7(5), pp. 294-303.
Machmud, R., & Wolok, T. (2020). Model design of influence of service quality on customer satisfaction in regional general hospitals in Gorontalo Province. International Journal of Tourism and Hospitality in Asia Pasific (IJTHAP), 3(3), pp. 63-78.
Rimadhan, F., Tintasari, D., & Mardiyantoro, F. (2019). Customers’ service expectations in dental hospital: using servqual model. SCOPUS IJPHRD CITATION SCORE, 10(7), p. 470.
Sujan, M. A., Habli, I., Kelly, T. P., Gühnemann, A., Pozzi, S., & Johnson, C. W. (2017). How can health care organizations make and justify decisions about risk reduction? Lessons from a cross-industry review and a health care stakeholder consensus development process. Reliability Engineering & System Safety, 161, pp. 1-11.
Westgard, J. O. (2013). Perspectives on quality control, risk management, and analytical quality management. Clinics in Laboratory Medicine, 33(1), pp. 1-14.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2rd ed.). NY: Harper & Row.