กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจและการบอกต่อของลูกค้าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของร้านค้าท้องถิ่นในประเทศไทย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การตลาด, เครื่องปั้นดินเผา, ความพึงพอใจของลูกค้า, การบอกต่อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและการบอกต่อของลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดเครื่องปั้นดินเผาที่มีต่อความพึงพอใจและการบอกต่อของลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการทดสอบที สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่เลือกซื้อเครื่องปั้นดินเผาจากร้านค้าท้องถิ่นที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อาชีพ ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเฉลี่ยเดือนที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจและการบอกต่อของลูกค้าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่แตกต่างกัน และ 2) กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านราคาของผลิตภัณฑ์ ด้านพนักงานให้บริการ และด้านสถานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการบอกต่อของลูกค้าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ในด้านของความพึงพอใจของลูกค้า และการบอกต่อ
References
ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์, อนวัช จิตต์ปรารพ และรุจิรา สุขมณี. (2561). ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสม
ทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ,
(1), หน้า 179-193.
ดาวเดือน อินเตชะ และชลธิชา รอดหิรัญ. (2565). แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการ
ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดลำปาง. วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ,
(2), หน้า 59-77.
ประสงค์ อุทัย, สมบัติ ทีฆทรัพย์, วัฒนา เอกปมิตศิลป์ และศรัญญา แจ้งขำ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ
การเลือกซื้อสินค้าในร้านของฝากท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี, 7(14), หน้า 12-25.
ภควดี วรรณพฤกษ์ และพรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ
ความพึงพอใจในการซื้อของฝากของชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์,
(106), หน้า 121-140.
วัันดีี แปลกปลาด. (2565). เครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแท้ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.dip.go.th/th/category/2019-05-10-16-17-44/2022-03-22-14-41-11
, 20 พฤษภาคม].
วิไลพร พิมพา. (2558). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิก
ในจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรัฐ สิมศิริ, มานะ เอี่ยมบัว, ชนินทร์ กุลเศรษฐัญชลี, สธนวัชร์ ประกอบผล, วรรณิกา เกิดบาง, นรินทร
สรวิทย์ศิรกุล และรตนนภดล สมิตินันทน์. (2560). ปัจจัยด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่
ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ กรณีศึกษา: เขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฏร์ธานี.
วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, 12(1), หน้า 137-147.
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). (2566). สรุปรายงานการส่งออกผลิตภัณฑ์
ศิลปหัตถกรรมไทย ช่วงเดือนธันวาคม 2565 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.sacit.or.th/th/detail/2023-02-05-21-55-08 [2567, 20 พฤษภาคม].
สมบัติ แซ่เบ๊ และอนัญญา ตั๋นประเสริฐ. (2564). พฤติกรรมการซื้อสินค้าในเขตสัมพันธวงศ์ของนักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติ ที่ใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 15(1), หน้า 66-73.
Duy, P. N. N. & Hoang, T. M. (2017). Factors affecting customer satisfaction and customer
loyalty the case of binh duong ceramic product. In Proceedings of NIDA International
Business Conference 2017 INNOVATIVE MANAGEMENT: Bridging Theory and
Practice (pp. 380-405). Bangkok: Thailand.
Normal, I., Setini, M. & Putra, I. (2023). Assessing the influence of supply chain collaboration
value innovation, market demand, and competitive advantage on improving the
performance of ceramic SMEs. Uncertain Supply Chain Management, 11(2),
pp. 777-786. https://doi.org/10.5267/j.uscm.2023.1.002
Pakpahan, A. K. (2012). developing the plered's ceramic cluster, west java by encouraging
building the model house and introducing kampoeng keramik. Procedia Economics and Finance, 4, pp. 44-53.
https://doi.org/10.1016/S2212-5671(12)00319-X
Sugiyarti, G., Ferdinand, A. T. & Nurchayati, T. (2018). Acculturative products uniqueness
antecedence for successful marketing performance. DLSU Business & Economics
Review, 28(1), pp. 86-96.
Suttikun, C. & Meeprom, S. (2021). Examining the effect of perceived quality of authentic
souvenir product, perceived value, and satisfaction on customer loyalty. Cogent
Business & Management, 8(1), pp. 1-19.
https://doi.org/10.1080/23311975.2021.1976468
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). NY: Harper & Row.