การพัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยห้องดาต้าเซ็นเตอร์ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ พนาวาส มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง, ห้องดาต้าเซนเตอร์, ไฟฟ้าดับ

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตรวจสอบการจ่ายกระแสไฟฟ้า และระบบตรวจวัดอุณหภูมิภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง 2) เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนข้อมูลการแสดงผลระบบไฟฟ้าดับ และอุณภูมิมีค่าสูงกว่ามาตราฐานภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ ผ่านระบบแจ้งเตือนไลน์ 3) เพื่อวัดประสิทธิภาพของชุดระบบเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมห้องดาต้าเซนเตอร์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถรับทราบปัญหา และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดและอุณภูมิมีค่าสูงกว่ามาตราฐานภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ ผ่านระบบแจ้งเตือนไลน์ และ 4) เพื่อวัดประสิทธิภาพของชุดระบบเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมห้องดาต้าเซนเตอร์

            ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถรับทราบปัญหา และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของเครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์เครือข่าย และข้อมูลสารสนเทศ ภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ เพื่อคุณภาพการให้บริการ ลดระยะเวลาในการกู้คืนระบบของศูนย์ข้อมูล ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 และผลการประเมินคุณภาพจากผู้ใช้งานระบบอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ระบบสามารถใช้งานได้จริงภายในห้องดาต้าเซนเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

References

กฤษฎา แก้วผุดผ่อง, โสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี และปิยวัฒน์ ชวนวารี. (2563). การพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิห้องเซิร์ฟเวอร์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://clib.psu.ac.th/km/wp-content/uploads/2020/01/เอกสารประเภทบรรยาย-IT.pdf [2566, 12 มกราคม].

คมสัน โกเสนตอ. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศตลาดแรงงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1235 [2563, 22 พฤศจิกายน].

จันตพงษ์ บุตรลักษณ์. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมของเซิร์ฟเวอร์แร็ค (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://icit.kmutnb.ac.th/main/wp-content/uploads/2021/02/research_icit_development_of_rack_server_security.pdf[2565, 20 ตุลาคม].

เจ้าของร้าน. (2564). สอนใช้งานบอร์ด NodeMCU ESP8266 ESP32 แจ้งเตือนแอพพลิเคชั่น Line บทที่ 1 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.analogread.com/article/85/สอนใช้งานบอร์ด-nodemcu-esp8266-esp32-แจ้งเตือนแอพพลิเคชั่น-line-บทที่-1 [2565, 20 ตุลาคม].

บรรจง หะรังสี. (2563). มาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 ฉบับภาษาไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://www.tnetsecurity.com/download/มาตรฐาน-iso-iec-270012022-ฉบับภาษาไทย [2565, 10 ตุลาคม].

วิวัฒน์ชัย ขำประไพ. (2562). การพัฒนาระบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมในห้องบริหารและจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยี IOT ผ่าน Line API ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/2153/3/1.2.%20บทคัดย่อ.pdf [2565, 20 ตุลาคม].

รัศเมศวร์ ตันวีนุกูล, บุญฤทธิ์ นกครุฑ, แสงทอง บุญยิ่ง และอดิศักดิ์ สารธรรม. (2565). การพัฒนาระบบ ติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) แบบออนไลน์ ในช่วงเกิดวิกฤตสถานการณ์โรคระบาดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://research.kpru.ac.th/journal_science/journal/19722022-06-28.pdf [2566, 24 มกราคม].

สำนักงาน กสทช. (2560). เทคโนโลยี Internet of Things และนโยบาย Thailand 4.0 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.nbtc.go.th/Services/quarter2560/ปี-2561/32279.aspx [2565, 20 ตุลาคม].

แอดมิน. (2564). ESP32 คืออะไร ดีกว่า ESP8266 อย่างไร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:https://techtalk2apply.com/what-is-esp32/ [2566, 25 ธันวาคม].

Alvan Prastoyo Utomo, M., Aziz, A., Winarno & Harjito, B. (2019). Server room temperature & humidity monitoring based on internet of thing (IoT). Journal of Physics: Conference Series, 1306(1) (012030), pp. 1-8.

ThaiEasyElec. (2563). เริ่มต้น IoT App ด้วย Blynk (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://blog.thaieasyelec.com/getting-started-iot-with-blynk/ [2565, 11 พฤศจิกายน].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01