อิทธิพลของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้ แอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์, ความพึงพอใจ, แอปพลิเคชันเวียบัสบทคัดย่อ
เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน การเดินทางของชาวกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ จึงต้องมีการวางแผนการเดินทางและคำนวณเวลาในการเดินทางให้ทันเวลา ระบบแอปพลิเคชันเวียบัส จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ โดยเป็นแอปพลิเคชันดูรถโดยสารประจำทางแบบตามเวลาจริง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับทราบข้อมูลเส้นทางที่รถกำลังให้บริการ โดยไม่ต้องเสียเวลารอรถโดยสารประจำทางเป็นเวลานาน และสามารถวางแผนการเดินทางได้ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของแอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) ในมุมมองของผู้ใช้งาน 2) ระดับความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) ในมุมมองของผู้ใช้งาน และ 3) อิทธิพลของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) มีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple linear regression) ด้วยเทคนิค Forward selection ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของแอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) ในมุมมองของผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างสูง คือ ด้านความพร้อมของระบบ ด้านประสิทธิภาพการใช้งาน และด้านความเป็นส่วนตัว ตามลำดับ 2) ระดับความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชันวียบัส (Viabus) ในภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจสูง และ 3) คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ด้านประสิทธิภาพการใช้งาน ด้านความพร้อมของระบบ และด้านความเป็นส่วนตัวมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันเวียบัส (Viabus) ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์
และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาริกา คำคม. (2567). คุณภาพของการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันเวียบัสของ
ประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt17/6414993106.pdf [2567, 4 กรกฎาคม].
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 18).
กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บัณฑิต ชวนขุนทด, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์ และประภัสสร วิเศษประภา. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีและ
คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน เวียบัส
(Viabus) ของประชาชนในเขตปทุมธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-6/sec1/6014154025.pdf [2566, 4 กรกฎาคม].
ปุณยวีร์ วีระพงษ์. (2565). คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดี
ของผู้ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: Grab Food (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4581/1/TP%20MM.024%202565.pdf
, 13 กรกฎาคม].
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พัณณ์ชิตา อิทธิกรไพศาลกุล และสุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล. (2566). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการและ
การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ
ผ่านแอปพลิเคชัน Viabus ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์,
(3), หน้า 80-95.
พิมพ์นุสร ทวีวัฒนานนท์ และศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2565). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้
คุณค่าพฤติกรรมการใช้บริการ และความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชันอ่านการ์ตูนดิจิทัล.
วารสารบริหารธุรกิจ, 12(2), หน้า 88-99.
ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ. (2564). Forbes ยก Viabus ของไทย สุดยอดนวัตกรรมเอเชีย พลิกโฉมอนาคต
ระบบขนส่งสาธารณะ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.chula.ac.th/highlight/47660/
, 6 ตุลาคม].