กลยุทธ์การจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนของขยะสิ่งทออย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา แบรนด์แฟชั่นในเมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • เสวี่ยหยาง
  • สินีนาถ เลิศไพรวัน

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน, ขยะสิ่งทอ, แบรนด์แฟชั่น, เศรษฐกิจหมุนเวียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนของขยะสิ่งทอหรือเสื้อผ้าใช้แล้วในเมืองก้านโจว ผ่านการศึกษาวิจัยประเภทและลักษณะของวัสดุเหลือทิ้งในภูมิภาคในเชิงลึก และการวิเคราะห์กรณีศึกษาของแบรนแฟชั่นที่ประสบความสำเร็จ และ 2) เพื่อสังเคราะห์และกำหนดแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืนสำหรับสิ่งทอในเมืองก้านโจว และเพื่อให้ข้อมูลสนับสนุนทางทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสีเขียวของอุตสาหกรรมสิ่งทอในเมืองก้านโจว การวิจัยนี้เริ่มจากการกำหนดระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ขอบเขตการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ SWOT เพื่อวิเคราะห์เงื่อนไขภายใน ระบุจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถในการแข่งขันหลัก และได้นำเสนอกลยุทธ์การจัดการที่สมเหตุ สมผล โดยอาศัยผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับขยะสิ่งทอในเมืองก้านโจวอย่างเป็นระบบ ศึกษาวิธีการสร้างแบบจำลองการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวของสิ่งทอในเมืองก้านโจวอย่างยั่งยืน

            นักวิจัยพบว่า 1) ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในสถานการณ์ปัจจุบันของเมืองก้านโจว ได้ดำเนินการมาระดับหนึ่งแล้ว สภาพขยะและเศษผ้ามีจำนวนมาก ประกอบด้วยเศษผ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมและเศษผ้าเก่าจากเสื้อผ้าที่ใช้แล้วในปริมาณที่เท่าเทียมกัน 40,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ เมืองก้านโจวยังมีการรีไซเคิลขยะสิ่งทอหลายประเภท ได้แก่ ผ้าขนสัตว์ ผ้าฝ้าย ผ้าใยเคมี ฯลฯ และ 2) ผลการสังเคราะห์เศษผ้าเหล่านั้นพบว่า การรีไซเคิลขยะสิ่งทอให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรวางแผนการรีไซเคิลให้เป็นระบบ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาปริมาณขยะ แยกประเภทของสิ่งทออย่างละเอียด และเสนอชุดกลยุทธ์การพัฒนาที่เฉพาะเจาะจงในข้อจำกัดสำหรับพื้นที่เมืองก้านโจวให้สอดคล้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืน

  

References

Arruda, E. H., Melatto, R. A. P. B., Levy, W. & de Melo Conti, D. (2021). Circular economy:

A brief literature review (2015–2020). Sustainable Operations and Computers,

(2), pp. 79-86.

Chen, F. (2024). The virtual staining method by quantitative phase imaging for label free

lymphocytes based on self-supervised iteration cycle-consistent adversarial networks.

Review of scientific instruments, 95(4), pp. 1063- 1100.

Eichhorn, M., Bocken, N. & Deutz, P. (2017). Circular business models for the textile industry:

A review. Journal of Cleaner Production, 162, pp. 1147-1159.

Liang, H. & Jiang, Z. (2020). Research and analysis on the law and policy of garbage

classification in China. Henan Science and Technology, (11) pp. 67-68.

Liu, T. R., Qiu, X., Xu, Y. H., Li, Y. L., Hu, Y. & Zou, Q. (2013). The Study of the Influence of

Surface Geometric Error on Optical Properties. Advanced Materials Research,

, pp. 675-680.

Lv, L. & Song, M. (2020). Application of fashion design thinking in recycled textile products.

Textile Journal, 47(6), pp. 86-89.

Subic, J. & Desai, A. (2015). Sustainable development in the fashion industry: a literature review.

Journal of Textile and Apparel Technology and Management, 13(8),

pp. 4129-4356.

Yi, Y. & Shen, L. (2019). Sustainable textile recycling technologies and platforms smart innovation.

Systems and Technologies, 135, pp. 163-172.

Yuan, L., Zhao, X. & Li, M. (2014). Research on the construction of a comprehensive recycling

industry chain for waste textiles. Journal of China Textile University, (14),

pp. 3390-16635.

Zhang, C., Wu, Y. & Liu, B. (2021). An imperial study on the sustainable development of

the textile recycling industry in China. Sustainability, 13(5), p. 2673

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30