การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

ผู้แต่ง

  • พงศธร เพชรเทพ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พรทิพย์ อ้นเกษม
  • กัญภร เอี่ยมพญา

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 310 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยอันดับแรก ได้แก่ ด้านการวัดผลประเมินผล รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่อยู่อันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านการนิเทศการศึกษา และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

จันทร์สุดา ไพจิตรวิจารณ์. (2566). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา

ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 2(1), หน้า 29-38.

เจือศรี พูนพิพัฒน์. (2566, 12 กรกฎาคม). รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ฉะเชิงเทรา เขต 1. สัมภาษณ์.

ชนากานต์ อุนาภาค, วิรัลพัชร วงษ์วัฒน์เกษม และสุวัฒนพงษ์ ร่มศรี. (2565). การบริหารงานวิชาการของ

ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(3), หน้า 679-692.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ไชยา ภาวะบุตร. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.

นิรุตต์ บุญตา และเกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์. (2565). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา

ที่ 13 (สังคม 1) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา,

(2), หน้า 79-99.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2563. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: เซอร์วิส ซัพพลาย.

ปัญญา ตรีเลิศพจน์กุล และสมฤทัย เตาจันทร์. (2566). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา

ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5.

วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), หน้า 179-192.

พรรษมน พินทุสมิต. (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับ

ประถมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2563). ภาวะผู้นำในการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนบ้านเกาะดอน (เลิศสินธุ์ประชาสรรค์). (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนบ้านเกาะดอน

(เลิศสินธุ์ประชาสรรค์).

โรงเรียนวัดชนะสงสาร (อนันตชัยประชานุกูล). (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนวัดชนะสงสาร

(อนันตชัยประชานุกูล).

โรงเรียนวัดเทพราช (เทพราชวิทยาคาร). (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนวัดเทพราช (เทพราชวิทยาคาร).

โรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน 3). (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนวัดล่าง (บวรวิทยายน 3).

โรงเรียนสุเหร่าสมอเซ. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนสุเหร่าสมอเซ.

วราพร สินศิริ และชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), หน้า 129-146.

วีรวัฒน์ นามนาค และอำนวย ทองโปร่ง. (2566). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้

สถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง.

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(1), หน้า 409-420.

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็น

ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2566). รายงานการสังเคราะห์ผลการ

ประเมินตนเองของสถานศึกษา. ฉะเชิงเทรา: กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๖๓ –

พ.ศ. ๒๕๖๕). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบ

บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30