ความสำคัญของงานตรวจสอบภายในต่อการกำกับดูแลหน่วยงานภาครัฐ
คำสำคัญ:
งานตรวจสอบภายใน, การกำกับดูแล, หน่วยงานภาครัฐบทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของบทความวิชาการนี้เพื่อ นำเสนอความสำคัญของงานตรวจสอบภายในต่อการกำกับดูแลหน่วยงานภาครัฐ จากการศึกษาพบว่า การตรวจสอบภายใน ในส่วนราชการของประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 โดยตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังของกระทรวงการคลัง ที่ให้หัวหน้าส่วนราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อดำเนินการตรวจสอบภายในของหน่วยงานตนเอง ต่อมาในวันที่ 19 สิงหาคม 2519 มีมติคณะรัฐมนตรี สร.0201/ว.78 เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ ที่กำหนดให้ส่วนราชการทุกหน่วยไม่ว่าจะเป็นกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการอื่น ๆ ที่เทียบเท่ารวมถึงจังหวัดทุกจังหวัด มีตำแหน่งอัตรากำลังเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในจะต้องขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามกรณี กรมบัญชีกลางภายใต้กระทรวงการคลังมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ เพื่อให้การตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การตรวจสอบภายในถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารหน่วยงานสามารถติดตามและประเมินการดำเนินงานของหน่วยงาน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการพัฒนาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมที่ใช้ในประเทศไทยได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน (International standards for the professional practice of internal auditing) ที่กำหนดโดยสถาบันผู้ตรวจสอบภายในของสหรัฐอเมริกา (The Institute of Internal Auditors: IIA) ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ได้รับการปรับปรุงและอัปเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสภาพแวดล้อมการทำงานของทางราชการ การปรับปรุงมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในเป็นการรับรองว่าการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน ในทุกส่วนราชการจะมีความเป็นมืออาชีพ และสามารถได้รับการยอมรับจากผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งใน และนอกหน่วยงาน
References
กรมอนามัย. (2565). คู่มือการรายงานผลการตรวจสอบภายใน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://audit.anamai.moph.go.th/web-upload/21xdee05b3b4525a6c082be11a682e4
efef/tinymce/2564/Nov/audit_report_2565.pdf [2567, 25 เมษายน].
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). คู่มือ “การตรวจสอบผลการดำเนินงาน”
(Performance Audit) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://audit.mnre.go.th/th/view/?file=
rTMjMT1jql5ZAJ02MmW0BJxkrQMjZT02qmuZZz05MmM0ZJx4rQOjAT0lqmAZZz0jMm
W0YJxkrQyjAJ0mqmEZYJ1yM2k0nJyzrP9jMJ1fq2yZMz0iM3I0nJx2rQEjZJ0iq2EZLJ1iM2k
pTy1rP8weweb3Q&n=คู่มือ%20Performance_66&t=GTMgq2qxqS9cMUug
, 28 เมษายน].
จิตรภา รุ่นประพันธ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน บริษัท
การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในมุมมองของผู้รับตรวจ. การศึกษาด้วยตนเองบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุรินทร์ สุนิตย์สกุล. (2552). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในกับประสิทธิภาพในการให้บริการขอ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารจัดการสารธารณะสำหรับ
นักบริหาร, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรดาศักดิ์ ชูสาย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียน
ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑติ, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2564). ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://audit.rmutsv.ac.th/sites/audit.rmutsv.ac.th/files/u7/%202551_0.pdf
, 25 เมษายน].
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2560). วิวัฒนาการ หลักการ และประโยชน์ของการ
ตรวจสอบภายใน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://ia.erc.or.th/index.php/publishdoc/publishdoc-etc/87-2017-07-29-14-22-15
, 28 เมษายน].
สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2557). มาตรฐานการตรวจสอบภายใน การนํามาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการมาใช้ในการปฏิบัติงาน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.senate.go.th/assets/portals/49/news/145/2_6-การนำมาตรฐานมาใช้.pdf [2567, 25 เมษายน].
อรรัตน์ เรืองจํารัส. (2555). การรับรู้บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ตรวจสอบภายในของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ
วิชาเอกการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อารวย ดีเลิศ. (2549). บทบาทของตรวจสอบภายในในการพัฒนาระบบควบคุมภายในขององค์กร.
วารสารการบริหารและพัฒนาธุรกิจ, 5(2), หน้า 78-89.