การคัดเลือกซัพพลายเออร์ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดยการประยุกต์ใช้ กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น
คำสำคัญ:
กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น, ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ, การคัดเลือกซัพพลายเออร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม และเพื่อวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการคัดเลือกซัพพลายเออร์ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น การกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ ประกอบด้วย 8 เกณฑ์หลัก ได้แก่ คุณภาพ ราคา ระยะเวลา และความสามารถในการส่ง เงื่อนไขการชำระเงินและนโยบายการรับประกัน การบริการหลังการขาย ความน่าเชื่อถือ ความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักเฉลี่ยของเกณฑ์มีความสำคัญต่อการคัดเลือกซัพพลายเออร์ พบว่า เกณฑ์ด้านคุณภาพ มีค่าน้ำหนักความสำคัญสูงสุด เท่ากับ 0.183 รองลงมา คือ เกณฑ์ด้านราคา มีค่าน้ำหนัก 0.169 เกณฑ์ด้านระยะเวลาและความสามารถในการจัดส่ง มีค่าน้ำหนัก 0.143 เกณฑ์ด้านความน่าเชื่อถือ มีค่าน้ำหนัก 0.126 เกณฑ์ด้านเงื่อนไขการชำระเงินและนโยบายรับประกัน มีค่าน้ำหนัก 0.118 เกณฑ์ด้านการบริการหลังการขาย มีค่าน้ำหนัก 0.099 เกณฑ์ด้านความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีค่าน้ำหนัก 0.089 และลำดับสุดท้าย คือ เกณฑ์ด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีค่าน้ำหนัก 0.072 ตามลำดับ การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นจึงเป็นการช่วยตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ให้กับโรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้อย่างเหมาะสม
References
Ada, N. (2022). Sustainable supplier selection in agri-food supply Chain management. International Journal of Mathematical, Engineering and Management Sciences,7(1), pp. 115-130.
Bakır, M. & Atalık, Ö. (2021). Application of fuzzy AHP and fuzzy MARCOS approach for the evaluation of e-service quality in the airline industry. Decision Making: Applications in Management and Engineering, 4(1), pp. 127-152.https://doi.org/10.31181/dmame2104127b
Banaeian, N., Mobli, H., Fahimnia, B., Nielsen, I. E. & Omid, M. (2018). Green supplier selection using fuzzy group decision making methods: A case study from the agri-food industry.Computers & Operations Research, 89, pp. 337-347.
Bukhori, S., Sukmawati, D. A. & Eka, Y. W. (2017). Selection of supplier using analytical Hierarchy process: Creating value added in the supply chain agribusiness. In 2017 4th International Conference on Computer Applications and Information Processing Technology (CAIPT) (pp. 1-6). IEEE.
Chatterjee, P. & Stević, Ž. (2019). A two-phase fuzzy AHP-fuzzy TOPSIS model for supplier evaluation in manufacturing environment. Operational Research in Engineering Sciences: Theory and Applications, 2(1), pp. 72-90.
Chonviriyakun, P. & Suraraksa, J. (2023). Developing sustainable supplier selection criteria A case study of an automotive parts manufacturer. RMUTT Global Business and Economics Review, 18(1), pp. 103-123.
Đalić, I., Stević, Ž., Karamasa, C. & Puška, A. (2020). A novel integrated fuzzy PIPRECIA–interval rough SAW model: Green supplier selection. Decision Making: Applications in Management and Engineering, 3(1), pp. 126-145.https://doi.org/10.31181/dmame2003114d
Erdem, Y., Cebi, S. & Ilbahar, E. (2021). A New Approach to Analyze Perceived Design Quality of Mobile Phone Using Fuzzy Hierarchical Conjoint Analysis. In Intelligent and Fuzzy Techniques: Smart and Innovative Solutions: Proceedings of the INFUS 2020
Conference, Istanbul, Turkey, 2020, July 21-23, (pp. 769-778). Springer International