แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงานบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และเพื่อเปรียบเทียบระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานส่วนกลาง 228 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพบว่า ปัจจัยจูงใจมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยพบว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติงานมีแรงจูงใจเป็นลำดับแรก รองลงมา ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ การได้รับยอมรับนับถือ และความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเป็นลำดับสุดท้าย ส่วนแรงจูงใจค้ำจุนอยู่ในระดับมาก และปานกลาง (กสมา พันธุ์ชื่น และภิรดา ชัยรัตน์, 2567) 2) การเปรียบเทียบระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตำแหน่ง และอายุงาน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไม่แตกต่างกัน
References
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2567). แผนปฏิบัติด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2566-2570. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.
กสมา พันธุ์ชื่น และภิรดา ชัยรัตน์. (2567). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท (จุลเจือ), โยธี จันตะนี, ชาญชัย เพียงแก้ว และศุภกิจ ภักดีแสน. (2565). รูปแบบการจัดการทุนมนุษย์: กรอบแนวคิดของ Leonard Nadler. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), หน้า 503-516
แพรไพลิน โคตรพรม และเกวลิน ศีลพิพัฒน์. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 7(2), หน้า 143-160.
มธุรส แผ่นทอง. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนกลุ่มเขาเขียว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/7725/Fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y [2567, 10 กันยายน].
อโณทัย ธีระทีป. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย เรื่อง ความต้องการแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Matt, C., Hess, T. & Benlian, A. (2015). Digital transformation strategies. Business & information systems engineering, 57(5), pp. 339-343.https://doi.org/10.1007/s12599-015-0401-5
Nadler, L. & Nadler, Z. (2012). The Handbook of Human Resource Development.Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.
Rose, K., Eldridge, S. & Chapin, L. (2015). The internet of things: An overview. The internet society (ISOC), 80(15), pp. 1-53.
Skog, D. A., Wimelius, H. & Sandberg, J. (2018). Digital disruption. Business & Information Systems Engineering, 60, pp. 431-437.
https://doi.org/10.1007/s12599-018-0550-4
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York, NY: Harper and Row.