แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้ทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ทุนวัฒนธรรม, ชุมชนบ้านปึกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) ประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และ 3) เสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำชุมชนคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ้านปึก และคนในท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 15 คน นักท่องเที่ยว จำนวน 25 คน 2) การประชุมกลุ่มย่อยนักวิชาการและนักพัฒนาการท่องเที่ยว จำนวน 10 คน และ 3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษา 1) ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนตำบลบ้านปึกพบว่า มีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญภายในวัดใหม่เกตุงาม โรงทอผ้าใต้ถุนบ้าน อาหารและขนม รวมถึงการประกอบอาชีพ เช่น การทอผ้า การทำนา การทำตาลโตนด การทำสวนมะพร้าว และการปลูกพืชเท้ายายม่อม 2) ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนตำบลบ้านปึก พบว่า มีการนำเอาทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว การเดินทางเข้าถึงชุมชนสะดวกสบาย มีหลากหลายเส้นทางให้เลือกภายในชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น ห้องน้ำ ที่นั่งพักผ่อน ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และร้านอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชุมชนยังมีโฮมสเตย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ้านปึก กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนมีความหลากหลาย เช่น การชมอุโบสถเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี การฟังประวัติและชมการสาธิตการทอผ้า การชมวิถีอาชีพการแกะหอยนางรมสด การชมวิธีการผลิตแป้งเท้ายายม่อม การทำฝีมือจากผ้าทอ การเรียนรู้การทำขนมด้วยวัตถุดิบในท้องถิ่น และการเรียนรู้วิธีการพับดอกบัว เป็นต้น สำหรับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้ทุนทางวัฒนธรรมชุมชนตำบลบ้านปึก ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายในชุมชน และการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวของชุมชน
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/ranong/download/article/article_20230418122435.pdf [2566, 20 ธันวาคม].
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.trdnrru.net/img/poster1/project01.pdf [2567, 15 มิถุนายน].
กฤชณัท แสนทวี, ภัทธิรา ธีรสวัสดิ์ และชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ. (2562). แนวทางการจัดการนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, 2(1), หน้า 1-11.
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ และอานันท์ นิรมล. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาสื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อนอัตลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://rms.rdi.tsu.ac.th:82/abc/files/report020191203131349.pdf [2566, 20 ธันวาคม].
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการ “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ”. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์, ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร, ธรรมศักดิ์ สงกา, มนัส แก้วบูชา, ศรัญญา ประสพชิงชนะ,ปาจรีย์ สุขาภิรมย์, พรทิพย์ พันธุ์ยุรา, สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง, รุ่งอรุณ ดอนจันทร์ทอง, ศิริอร ศักดิ์วิไล, สกุลพีรพัฒน์ มั่งคั่ง, วัชรพงษ์ สุขีวงศ์ และรินจง เสริมศรี. (2562). โครงการแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : บ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2566). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(2), หน้า 65-79.
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2549). หลักนันทนาการและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดารณี พลอยจั่น. (2559). ทุนทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้งกับกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(1), หน้า 6-17.
ดาริน วรุณทรัพย์. (2561). รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ทิพย์สุวรรณ แซ่ลี้. (2561). รูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมของชุมชนบ้านอาลึ และชุมชนบ้านอ้อมแก้ว จังหวัดสุรินทร์ (อออไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/sites/default/files/Thipsuwan_Saelee.pdf[2567, 15 มิถุนายน].
ธนกฤต ภัทร์ธราธร และเกรียงศักดิ์ สร้อยสุวรรณ. (2565). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาไทดำ บ้านป่าหนาด จังหวัดเลย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), หน้า 141-157.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิง คุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), หน้า 31-48.
เปรมปรีดา ทองลา, เพ็ญศิริ สมารักษ์ และบุษรา บรรจงการ. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตำบลบางสระเก้า จังหวัดจันทบุรี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://eresearch.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-2111-file01-2024-04-25-14-37-13.pdf
, 15 มิถุนายน].
วาสนา อาจสาลิกรณ์, รัษฎากร วินิจกุล และพิษณุ บุญนิยม. (2563). ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมศักยภาพ
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีไทดำ บ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 18(2), หน้า 269-287.
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ปาจรีย์ สุขาภิรมย์ และอมรฉัฐ เสริมชีพ. (2565). การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรม ชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(2), หน้า 155-178.
สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ และธีร์ โคตรถา. (2562). การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นจากหัตถกรรมสิ่งทอ ชุมชนบ้านปึก-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรีด้วยเทคนิคการตัดเย็บขั้นสูงเพื่อจัดจำหน่ายในตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences
and arts), 12(5), หน้า 1108-1123.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/wp- content/uploads/2023/03/masterplan_updated2023_080363.pdf [2566, 20 ธันวาคม].
อินฟอร์เมชั่น โพรวายเดอร์ แอนด์ คอนซัลแตนท์. (2556). บทสรุปผูบริหาร (Executive Summary)โครงการสงเสริมการลงทุนธุรกิจทองเที่ยวเชิงสรางสรรค (Creative Tourism) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T24129.pdf [2566, 20 ธันวาคม].
Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text (2nd ed.). Sydney, Australia: Hodder Education.
Flick, U. (1998). An introduction to qualitative research : Theory, method and applications. London, England: Sage.
Lofland, J. & Lofland, L. H. (1984). Analyzing Social Settings (2nd ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
Nastasi, B. K. & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), pp. 177-195.
Onwuegbuzie, A. J. & Leech, N. L. (2007). Sampling designs in qualitative research: making the sampling process more public. Qualitative Report, 12(2), pp. 238-254.
Richards, G. & Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATLAS news, 23(8), pp. 16-20.
Richards, G. (2009). Creative Tourism and Local Development. In Creative Tourism: A Global Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences for Travelers Worldwide, Santa Fe: Sustone Press.
Ritchie, J. & Spencer, L. (2002). Qualitative data analysis for applied policy research. In Analyzing qualitative data (pp. 173-194). Routledge.
Throsby, D. (2001). Economy and Culture. Cambridge, Anglia: The Press Syndicate of the University of Cambridge.
UNESCO. (2006). Towards sustainable strategies for creative tourism. In Discussion Report of the Planning Meeting for the 2008 International Conference on Creative Tourism. Santa Fe, New Mexico, pp. 25-27.
UNESCO Digital Library. (2020). UNESCO Creative Cities Network for sustainable development (Online). Available: https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000375210 [2024, June 15].