การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งน้ำดื่มสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่มดีซี

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล

คำสำคัญ:

การปรับปรุงประสิทธิภาพ, ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ, วิธีการแบบประหยัด, วิธีการค้นหาเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด, , โรงงานน้ำดื่ม

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งน้ำดื่มสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่มดีซี โดยประยุกต์ใช้วิธีการแบบประหยัด (Saving Algorithm: SA) และวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด (Nearest Neighbor Algorithm: NNA) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งน้ำดื่มให้มีระยะทางรวมที่น้อยที่สุด จากผลการศึกษาพบว่า วิธีการค้นหาเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด (Nearest Neighbor Algorithm: NNA) สามารถลดระยะทางรวมจากเดิม 130.50 กิโลเมตรลดลงเหลือ 121.80 กิโลเมตร ซึ่งสามารถลดระยะทางรวมได้ถึง 8.70 กิโลเมตร และวิธีการแบบประหยัด (Saving Algorithm: SA) สามารถลดระยะทางรวมจากเดิม 130.50 กิโลเมตร ลดลงเหลือ 121.10 กิโลเมตร ซึ่งสามารถลดระยะทางรวมได้ถึง 9.40 กิโลเมตร ดังนั้นวิธีการแบบประหยัด (Saving Algorithm: SA) มีประสิทธิภาพการขนส่งน้ำดื่มสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่มดีซี โดยสามารถหาระยะทางรวมที่น้อยที่สุดได้เหมาะสมที่สุด

References

เกศินี สือนิ. (2563). การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าโดยการเปรียบเทียบระหว่างการใช้วิธีเซฟวิ่งอัลกอริทึม และวิธีขั้นตอนวิธีการเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดอัลกอริทึม. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(2), หน้า 1-14.

จักรินทร์ กลั่นเงิน, กัลยา จำปาศรี, ประภาพรรณ เกษราพงศ์ และกันต์ธกรณ์ เขาทอง. (2566). การออกแบบโปรแกรมการขนส่งน้ำดื่ม กรณีศึกษา ร้านน้ำดื่มแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 17(2), หน้า 36-47.

ณัฐวุฒิ พลศรี, กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ และธนพร อินศิริ. (2564). การประยุกต์ใช้วิธีการแบบประหยัดสำหรับแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง กรณีศึกษา ฟาร์มเลี้ยงปลาดุก. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 7(2), หน้า 51-58.

ถนิมนันท์ กล้วยไม้. (2566). การจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งสำหรับการเก็บขยะมูลฝอย กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะโลจิสติส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพย์สุดา กุมผัน, ธัญญาเรศ ศรียงยศ, อริสา บุญหวาน และอุบลวรรณ จันทร์เต็ม. (2566). การจัดเส้นทางรถขนส่งน้ำดื่มโดยใช้วิธีเซฟวิ่งอัลกอริทึ่ม โรงงานผลิตน้ำดื่มชุมชน. วารสารข่ายงานวิศวกรรม อุตสาหการไทย, 9(2), หน้า 50-57.

ปฏิพัทธ์ หงษ์สุวรรณ, วิชัย จันทรรักษา และสรรวิทย์ เชื้อพิสุทธิ์กุล. (2556). การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งน้ำดื่ม จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2556. 16-18 ตุลาคม 2566, พัทยา ชลบุรี.

ปัญญวัฒน์ จันทร์ชัยภักดิ์. (2561). การแก้ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถรับส่งนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประสิทธิ์ศึกษาสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เพชรายุทธ แซ่หลี, วชิระ วิจิตรพงษา และหทัยธนก พวงแย้ม. (2560). การจัดเส้นทางการขนส่งน้ำดื่มโดยใช้การโปรแกรมเชิงเส้น กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัศมี 2015. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), หน้า 48-59.

ศิริพงษ์ ชัยเจริญ. (2555). การจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งน้ำดื่ม (ตรามทส.) ที่เหมาะสมในระบบมิลค์รัน.งานวิจัยโครงการศึกษาวิศวกรรมขนส่ง สาขาวิศวกรรมขนส่ง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2563). การควบคุมกำกับสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ปี 2563 สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2563 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.ssko.moph.go.th/news2/index.php?pageNum_all=4&totalRows_all=406&cat_id=2 [2567, 11 ตุลาคม].

สุบัน อุดอนมีไช และไพโรจน์ เร้าธนชลกุล. (2565). การจัดเสนทางยานพาหนะในการจัดเก็บของเสียภายในเขตเทศบาลนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 18(4), หน้า 140-151.

Clarke, G. & Wright, J. W. (1964). Scheduling of vehicles from a central depot to a number of delivery points. Operations research, 12(4), pp. 568-581.

Dantzig, G. B. & Ramser, J. H. (1959). The truck dispatching problem. Management science, 6(1), pp. 80-91.

Thamonton, J. (2566). ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดใส 4.2 หมื่นล้าน ผู้บริโภคเครียดใช้ชีวิต ส่งแบรนด์ต้องสร้างพลังบวก (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://marketeeronline.co/archives/320319 [2567, 27 กรกฎาคม].

Yuliza, E., Suprihatin, B., Bangun, P. B. J., Puspita, F. M., Octarina, S. & Nuraina, N. (2024). Saving matrix method and nearest neighbor method for garbage transport route problems. In AIP Conference Proceedings (Vol. 3046, No. 1, pp. 1-6). AIP Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25