การเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ของคนเจเนอเรชั่นวาย
คำสำคัญ:
การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร, สื่อสังคม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร,, เจเนอเรชั่นวายบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทาง การเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของคนเจเนอเรชั่นวาย 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลักษณะทางประชากรของคนเจเนอเรชั่นวาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ ที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2524-2543 จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่เป็นคำถามปลายปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว มีประเด็นสำคัญที่ทำการวิเคราะห์ 2 ประเด็น คือ 1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ในการเลือกตั้งฯ ผลการศึกษา พบว่า มีระดับการรับรู้ ในระดับมาก ผ่านสื่อสังคมประเภทเฟซบุ๊กมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาเปิดรับข้อมูลข่าวสาร 15-30 นาทีต่อครั้ง ด้านระดับการศึกษาผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปริญญาโท และอื่น ๆ มีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย และระดับมัธยมปลาย โดยมีระดับการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ มากกว่าข้อมูลด้านอื่น ๆ 2) คนเจเนอเรชั่นวายที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผ่านสื่อสังคมแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปริญญาโท และอื่น ๆ มีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย และระดับมัธยมปลาย คนเจเนอเรชั่นวายที่มีระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผ่านสื่อสังคมแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปริญญาโท และอื่น ๆ มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมปลาย ด้านอาชีพผู้ที่มีอาชีพนักเรียน/ นักศึกษา/ ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ/ เจ้าหน้าที่รัฐ/ พนักงานเอกชน/ ลูกจ้าง และอื่น ๆ มีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มากกว่ากลุ่มอาชีพธุรกิจส่วนตัว
References
กัญญ์ณณัฐ อนุรักติพันธุ์. (2561). การวิเคราะห์ผู้บริโภค. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการสื่อสารการตลาดหน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางทะเบียนราษฏรรายเดือน. เข้าถึงได้จาก:
https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage[2565, 20 พฤษภาคม].
จรรยามาศ ปลอดแก้ว. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิราพร รุจิวัฒนากร. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประเภทต่าง ๆ ของนักศึกษาปริญญาตรี. ชัยภูมิ: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ.
ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2560). ทฤษฏีเกี่ยวกับผู้รับสารและผู้ส่งสาร. ใน ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฏีการสื่อสาร หน่วยที่ 6. นนทบุรี: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โบรญา คุณวิบูลย์. (2564). การเปิดรับข่าวสารกับความคิดเห็นทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง,คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เปรมมณีสินจงเจริญกิจ. (2559). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณ. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการสื่อสาร หน่วยที่ 4.นนทบุรี: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
สืบแสง แสงทอง. (2563). การเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อรวรรณ สว่างอารมณ์. (2563). การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของพลเมือง 4 รุ่น: กรณีศึกษา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์