ความรู้ความเข้าใจในการสนับสนุนการสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในการสนับสนุนการสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่มาติดต่อราชการสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 367 คน สำหรับการกำหนดกลุ่มตัวอย่างมาจากสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ เป็นสูตรที่ยอมรับความคลาดเคลื่อนได้ที่ระดับ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่มาติดต่อราชการสำนักงานเขตบางกอกน้อยส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุระหว่าง 51-60 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท พักอาศัยอยู่กับครอบครัว ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการสนับสนุนการสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุทางสมาชิกในชุมชน ระดับความรู้ความเข้าใจในการสนับสนุนการสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ( x ̅= 0.53, S.D. = .204) เมื่อพิจารณาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านเอกสารประกอบการยื่นคำขอเงินค่าจัดการศพผู้สูงอายุ ( x ̅ = 0.55, S.D. = .280) รองลงมาด้านคุณสมบัติผู้สูงอายุที่เสียชีวิตขอรับค่าจัดการศพผู้สูงอายุ ( x ̅= 0.53, S.D. = .205) ด้านการตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาอนุมัติจ่ายเงิน (x ̅ = 0.52, S.D. = .323) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการยื่นคำขอรับเงินค่าจัดการศพผู้สูงอายุ ( x ̅ = 0.51, S.D. = .259)